Page 105 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 105

๑.๒) อัตราการคงอยู่ในระบบการศึกษา
                      จากสถิติการศึกษาของประเทศไทยในปีการศึกษา ๒๕๕๘ พบว่าอัตราการคงอยู่ของนักเรียนในระดับ

        การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับประกาศนียบัตร
        วิชาชีพ คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๔ หากจ�าแนกข้อมูลดังกล่าวโดยละเอียด พบว่า มีอัตราการคงอยู่ในระบบการศึกษา
        ภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ) คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๙ และอัตราการคงอยู่ในระบบการศึกษาภาคบังคับ
        จนส�าเร็จการศึกษาชั้นมัธยมต้นคิดเป็นร้อยละ ๘๙.๕ และมีอัตราการคงอยู่ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ช่วง
        มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ) คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๕ และมีอัตราการคงอยู่ในระบบการศึกษา

                                                ๑๓๓
        ในชั้นสูง (ระดับอุดมศึกษา) เพียงร้อยละ ๖๑.๔  ซึ่งข้อมูลดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นว่า เด็ก/เยาวชนมีแนวโน้มออกจาก
        การศึกษาภาคบังคับเมื่อส�าเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด



        ๒) คุณภาพการศึกษา
                 มีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษา ๓ ตัวชี้วัด ได้แก่ (๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-Net Program
        for International Student Assessment: O-NET) (๒) ความสามารถในการคิดของผู้เรียน (GAT) และ (๓) ความสามารถ
        ในการอ่าน เขียน และค�านวณของประชากรอายุ ๖ ปี ขึ้นไป
                 ๒.๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ

        มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ใน ๕ กลุ่มสาระการศึกษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนา
        และวัฒนธรรมในระดับประเทศ  ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O-NET)  ของสถาบันทดสอบการศึกษา
        แห่งชาติในทุกระดับชั้น มีคะแนนค่าเฉลี่ยต�่ากว่าร้อยละ ๕๐ ซึ่งในภาพรวมของคะแนนผลการทดสอบ O-NET ของปีการศึกษา

        ๒๕๕๘ พบว่า ปัจจัยที่ตั้งและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และขนาดของโรงเรียนมีผลต่อคุณภาพการศึกษา ผลการทดสอบ O-NET
        ในทุกระดับชั้น โดยโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดทุกวิชาและสูงกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยของประเทศ
        ในขณะที่โรงเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคะแนนเฉลี่ยต�่าสุดทุกวิชา และต�่ากว่าค่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา
        และโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคะแนนค่าเฉลี่ยที่ต�่ากว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การบริหารจัดการการศึกษายังเป็นปัจจัย
        หนึ่งของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยพบว่า โรงเรียนในสังกัดส�านักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ย O-NET

        สูงสุดของประเทศ ทั้งในระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ และมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในขณะที่โรงเรียนในสังกัดส�านักบริหารงาน
        คณะกรรมการเอกชน มีคะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับรอง โรงเรียนในก�ากับกระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) มีคะแนนเฉลี่ย
        O-NET สูงสุดของประเทศในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และโรงเรียนในสังกัดส�านักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และโรงเรียน

        ในสังกัดส�านักบริหารงานคณะกรรมการเอกชน มีคะแนนเฉลี่ยเป็นอันดับรอง และอันดับถัดไป และโรงเรียนในสังกัดส�านักการ
        ศึกษาพิเศษมีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบ O-NET ต�่าที่สุดในทุกระดับชั้น  นอกจากนี้ ในปี ๒๕๕๘ ยังเป็นปีที่ประเทศไทย
                                                                   ๑๓๔
        ได้เข้าร่วมโครงการการประเมินผลการศึกษานักเรียนนานาชาติ (Program for International Student Assessment: PISA)
        ซึ่งด�าเนินการโดยองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and
        Development: OECD) ผลการประเมินในรอบปี ๒๕๕๘ ของประเทศไทย พบว่า ความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะ

        ในทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านการอ่าน (Reading Literacy) ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และด้านวิทยาศาสตร์
        (Scientific Literacy) มีค่าคะแนนเฉลี่ยต�่ากว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมการทดสอบอย่างมีนัยส�าคัญ โดยคะแนนด้าน
        การอ่านอยู่ในอันดับที่ ๕๗ และทั้งคะแนนด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ ๕๔ จากประเทศที่เข้าร่วม

        การประเมินรวมทั้งสิ้น ๗๒ ประเทศ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการประเมิน PISA รอบปี ๒๕๕๕ พบว่า ความสามารถใน
        ด้านการอ่านและด้านวิทยาศาสตร์ มีคะแนนลดลงอย่างมีนัยส�าคัญ ในทางกลับกัน กลับไม่พบการเปลี่ยนแปลงในระดับ
        ความสามารถด้านคณิตศาสตร์แต่อย่างใด และผลวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนในภาพรวมตั้งแต่การประเมิน




                 ๑๓๓  แหล่งเดิม.
                 ๑๓๔  แหล่งเดิม, (น. ๑๔).


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  104  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110