Page 104 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 104
แต่เมื่อจ�าแนกตามระดับการศึกษา พบว่า อัตราการเข้าเรียนใน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี ของประชากรกลุ่มอายุ ๖ -
๑๗ ปี ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา
๒๕๕๖, ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ มีอัตราร้อยละ ๘๙.๖, ๘๙.๓ และ
๙๐.๑ ตามล�าดับ ซึ่งแสดงแนวโน้มอัตราการเข้าเรียนที่ค่อนข้าง
คงที่ โดยในปี ๒๕๕๘ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๗ เพียงร้อยละ ๐.๘
แต่จากข้อมูลอัตราการเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นของประชากรกลุ่ม
อายุ ๖ - ๑๔ ปี ในปี ๒๕๕๘ มีอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๗ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๗ โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ มีอัตรา
การเข้าเรียนร้อยละ ๙๔.๕, ๙๔.๘ และ ๙๖.๕ ตามล�าดับ และอัตราการเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ประเภท
สามัญศึกษาและอาชีวศึกษา) ของประชากรกลุ่มอายุ ๑๕ - ๑๗ ปี ในปี ๒๕๕๘ มีอัตราที่ลดลงร้อยละ ๑.๖ เมื่อเทียบกับปี
๒๕๕๗ โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ มีอัตราการเข้าเรียนร้อยละ ๗๖.๓, ๗๔.๔ และ ๗๒.๗ ตามล�าดับ ซึ่งเมื่อจ�าแนกตาม
ประเภทการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า อัตราการเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสายสามัญ
ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๔, ๕๐.๓, และ ๔๘.๙ ตามล�าดับ และอัตราการเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา ในปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๙, ๒๔.๐, และ ๒๓.๘ ตามล�าดับ ส่วนอัตราการเข้าเรียน
ในระดับอุดมศึกษา ของประชากรกลุ่มอายุ ๑๘ - ๒๑ ปี ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ มีอัตราร้อยละ ๕๖.๒, ๕๕.๑ และ
๑๒๙
๕๖.๓ ตามล�าดับ ซึ่งจะเห็นว่า ในปี ๒๕๕๘ มีอัตราการเข้าเรียนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๒ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๗ จากสถิติ
อัตราการเข้าเรียนดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐโดยปราศจากค่าใช้จ่าย ทาให้เพิ่มโอกาส
ในทางการศึกษาในภาพรวม แต่ยังมีเด็กและเยาวชนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ครบทุกคนโดยเฉพาะในระดับการศึกษา
ภาคบังคับ รวมถึงอัตราการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษายังมีค่อนข้างต�่า โดยมีเยาวชนเพียงครึ่งหนึ่งของประเทศที่สามารถ สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
เข้าถึงการศึกษาในขั้นสูงได้
ด้านความเหลื่อมล�้าในมิติการเข้าถึงสิทธิในการศึกษาในภาพรวม เด็กและเยาวชนไทยอายุ ๑๕ ปี มีจ�านวนปีการ
๑๓๐
ศึกษาเฉลี่ย ๘.๒ ปี แต่การเข้าถึงสิทธิในการศึกษามีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ หรือความยากจน
ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักในการเข้าถึงสิทธิในการศึกษา จากรายงานส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง
ศึกษาธิการ ในปี ๒๕๕๙ พบว่า เด็กและเยาวชนอายุ ๓ - ๑๗ ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ด้อยโอกาสจ�านวนทั้งสิ้นประมาณ ๔.๘ บทที่
ล้านคน โดยเป็นเด็กกลุ่มยากจนจ�านวน ๔.๖ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๙๖ ของเด็กด้อยโอกาสทั้งหมด และยังพบว่าครึ่งหนึ่ง ๔
ของเด็กยากจนขาดโอกาสในการศึกษาระดับประถมศึกษา และหนึ่งในสามของกลุ่มเด็กและเยาวชนยากจนขาดโอกาสศึกษา
ในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ หรือความยากจน เป็นอุปสรรคหลักในการเข้าถึงสิทธิ
๑๓๑
ในการศึกษา ตั้งแต่เริ่มแรกของระดับประถมศึกษาและระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล�้าของปัจจัยการเข้าถึง
ทางกายภาพในเชิงพื้นที่อีกด้วย โดยพบว่า คนในเขตเมืองมีจ�านวนปีการศึกษาเฉลี่ยที่ ๙.๗ ปี สูงกว่าคนนอกเขตเมืองซึ่งมี
จ�านวนปีการศึกษาเฉลี่ยที่ ๗.๖ ปี และคนกรุงเทพฯ มีจ�านวนปีการศึกษาเฉลี่ยสูงสุดที่ ๑๑.๑ ปี รองจากคนภาคกลางและ
ภาคใต้ ซึ่งมีจ�านวนปีการศึกษาเฉลี่ย ๘.๙ ปี และ ๘.๕ ปีตามล�าดับ และคนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจ�านวน
ปีการศึกษาเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ๗.๕ ปี ๑๓๒
๑๒๙ จาก ตารางที่ ๑ อัตราส่วนนักเรียนนักศึกษาต่อประชาการ จ�าแนกตามระดับการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๓ - ๒๕๕๘ สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา
๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ (น. ๑๑), โดย ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ: ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
๑๓๐ จาก เอกสารรอบรู้สถิติการศึกษาไทยในรอบ ๑๐ ปี, โดย ส�านักงานสถิติ, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/article_attach/19041/20569.jpg
๑๓๑ จาก ตารางที่ ๕๔ สถิติการศึกษาของประเทศไทยปีการศึกษา ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ (น.๘๕), โดย ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ:
ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
๑๓๒ แหล่งเดิม, หน้า ๒๒.
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 103 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙