Page 103 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 103
ความต้องการ อาทิ การจัดการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานให้กับเด็กติดตาม
แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อให้้เด็กมีทางเลือก การพัฒนาระบบ
สารสนเทศเพื่อส่งเสริมให้การเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาทั้งในระบบและ
นอกระบบ การสร้างความมั่นคงของชุมชนในพื้นที่แนวชายแดนร่วมกับ
องค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการจัดการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มผู้อพยพลี้ภัย เป็นต้น
๑๒๕
นอกจากนี้ ภายใต้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐
(The 2030 Agenda for Sustainable Development) โดยหนึ่งในเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ที่เกี่ยวกับ
สิทธิทางการศึกษา คือ การสร้างหลักประกันว่า ทุกคนจะเข้าถึงการศึกษา
ที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม และเท่าเทียมกัน รวมถึงการสนับสนุนโอกาส
ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education) ซึ่งประเทศภาคีต่าง ๆ รวมทั้ง
ประเทศไทยต้องท�าให้บรรลุผลภายในปี ๒๕๗๓ ได้แก่ เด็กทุกคนเข้าถึง
การพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
ส�าหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมส�าหรับ
การศึกษาระดับประถมศึกษา และส�าเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย
และมีผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล เยาวชนทุกคนเข้าถึง
การศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษาและอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ
ในราคาที่สามารถจ่ายได้ เยาวชนและผู้ใหญ่มีทักษะที่จ�าเป็นรวมถึง
ทักษะทางเทคนิคและอาชีพ ส�าหรับการจ้างงาน มีงานที่ดี และเป็นผู้ประกอบการได้มากขึ้น ขจัดความเหลื่อมล�้า
ทางเพศในการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ กลุ่มชนพื้นเมือง และเด็กด้อยโอกาส
จะเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ประชาชนจะมีอัตราการอ่านออกเขียนได้และค�านวณ
๑๒๖
ได้ที่สูงขึ้น โดยทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จ�าเป็นส�าหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลได้มีกรอบยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) โดยมียุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ และยุทธศาสตร์การพัฒนา ๑๒๗
ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้คนไทยมี
การศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม สิทธิในการศึกษาของประเทศไทยในภาพรวมนั้น
๑๒๘
มีประเด็นสาคัญที่น่ากังวล ๒ เรื่อง คือ การเข้าถึงสิทธิในการศึกษาและความเหลื่อมล�้า และคุณภาพในการจัดการศึกษา ดังนี้
๑) การเข้าถึงสิทธิในการศึกษาและความเหลื่อมล�้า
การเข้าถึงสิทธิในการศึกษาและความเหลื่อมล�้า มีตัวชี้วัดหลักที่ประกอบด้วย อัตราการเข้าเรียน และอัตราการคงอยู่
ในระบบศึกษา
๑.๑) อัตราการเข้าเรียน
จากสถิติของการศึกษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ โดยส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง
ศึกษาธิการ พบว่า อัตราการเข้าเรียนทั้งหมดของประชากรกลุ่มอายุ ๓ - ๒๑ ปี ในปีการศึกษา ๒๕๕๖, ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘
มีอัตราร้อยละ ๘๕.๘, ๘๔.๙ และ ๘๕.๙ ตามลาดับ ซึ่งจากสถิติการเข้าเรียนในปี ๒๕๕๘ เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๑
๑๒๕ จาก แผนการปฏิบัติตามขอเสนอแนะที่ไทยได้รับ และค�ามั่นโดยสมัครใจของไทยภายใต้กลไก UPR รอบที่ ๒, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก http://humanrights.mfa.go.th/th/upr/report-upr-2/
๑๒๖ จาก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, ๒๕๕๘, สืบค้นจาก http://www.tsdf.or.th/th/seminar-event/10268/เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๒๗ จาก ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี, ๒๕๕๙, สืบค้นจาก https://www.nstda.or.th/th/news/394-thailand-nationalstrategy-20-years
๑๒๘ จาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ (น. ๖๕ – ๗๔).
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 102 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙