Page 102 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 102

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ บัญญัติให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
            สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของคนไทยยังคงได้รับการคุ้มครองตามประเพณี การปกครองของประเทศไทย โดย

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ประกันสิทธิทางการศึกษาไว้ ซึ่งรัฐจะต้องจัดการศึกษาไม่น้อยกว่า
            ๑๒ ปี ให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และประกันความเท่าเทียมของสิทธิทางการศึกษาของผู้ยากไร้ ผู้พิการ
            หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะยากล�าบาก รวมถึงการคุ้มครองและส่งเสริมการศึกษาทางเลือก การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้
            ตลอดชีวิต นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ (ฉบับลงประชามติ) ได้ก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่จัด
            การศึกษาโดยให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา ๑๒ ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดย

            ไม่เก็บค่าใช้จ่าย การดูแลและพัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ และสังคม การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กร
            ปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการด�าเนินการด้านการศึกษา การสนับสนุนแนวทางการศึกษาที่เน้นความ
                                                                                ๑๒๓
            รับผิดชอบต่อประเทศชาติ และการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล


            ๔.๑.๒ สถานการณ์ทั่วไป
                     สิทธิทางการศึกษาเป็นสิทธิที่รัฐมีหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน โดยประเทศไทยได้
            ตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งจะเป็นกรอบในการจัดการ
            ศึกษาของประเทศ เพื่อให้สิทธิทางการศึกษาบรรลุผลได้ โดยรัฐมีความพร้อม (availability) ในการจัดให้มีสถาบันการศึกษา

            และแผนการศึกษาต่าง ๆ อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึง (accessibility) สถาบันการศึกษา และ
            แผนการศึกษาต่าง ๆ ที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และมีการยอมรับ (acceptability) คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาตาม
            ที่รัฐก�าหนดไว้ รวมถึงรัฐต้องจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น (adaptability) ให้เหมาะสมกับความต้องการและสอดคล้องกับ

            วัฒนธรรม เพื่อให้สิทธิทางการศึกษาบรรลุผลโดยล�าดับ                                                        สถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


                     อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีข้อสังเกต
            โดยสรุป (Concluding Observations) แสดงความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาโดยรวมที่ค่อนข้างต�่า อัตราเด็กออกจาก
            โรงเรียนที่สูง และประชาชนกลุ่มเปราะบางยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิ โดยได้มีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยด�าเนินการ

            ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาโดยรวม ลดอัตราการออกจากโรงเรียนกลางคัน และส่งเสริมสิทธิด้านการศึกษาของกลุ่มเปราะบาง
                                                                        ๑๒๔
            เพื่อให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน
                                                                                                                   บทที่
                     จากรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review: UPR) รอบที่ ๒ เมื่อเดือนพฤษภาคม   ๔
            ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นการรายงานภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศในทุกด้านต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง
            สหประชาชาติ  (United  Nations  Human  Right  Council:  HRC)  และต่อมาในเดือน  กันยายน  ๒๕๕๙
            รัฐบาลได้รับข้อเสนอแนะภายใต้กระบวนการ UPR เพื่อจะด�าเนินการแก้ไขสถานการณ์สิทธิทางการศึกษา ได้แก่
            การจัดท�ายุทธศาสตร์และจัดสรรทรัพยากรเกี่ยวกับสิทธิในการศึกษา และปรับปรุงการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา โดยเฉพาะ

            กลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มคนที่อยู่ในชนบท กลุ่มเด็กไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้ลี้ภัย จากการรับข้อเสนอ
            แนะดังกล่าว ท�าให้กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของรัฐในการจัดการศึกษา ด�าเนินการปรับปรุงสถานการณ์
            สิทธิทางการศึกษาโดยรวม จัดท�าแผนปฏิบัติการในระหว่าง ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓ ซึ่งประกอบด้วย การจัดท�ายุทธศาสตร์เพื่อให้เกิด

            การเข้าถึงสิทธิการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษา
            ขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมและปรับปรุงการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของเด็กกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มคนอยู่ในชนบท
            กลุ่มเด็กไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และผู้ลี้ภัย รวมถึงกลุ่มเด็กที่ติดตามแรงงานข้ามชาติ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและ




                     ๑๒๓  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มาตรา ๕๔
                     ๑๒๔  Paragraph 33 United Nations Economic and Social Council E/C.12/THA/CO/1-2 19June 2015 para 29 - 32


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  101  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107