Page 71 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 71
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๓๑
ค�าร้องที่ ๕๔๔/๒๕๕๔ เรื่อง สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของเด็ก
ผู้ร้องกับพวกรวม ๖ คน ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
ว่า ผู้อ�านวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งใน จ.สุราษฎร์ธานี (ในขณะนั้น) มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับนักเรียน
และบริหารงานไม่โปร่งใส จึงขอให้ตรวจสอบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องแล้วเห็นว่าเป็น
ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองไว้ใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็นกรณีที่อยู่ในอ�านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๑๕
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่ากระทรวงศึกษาธิการ โดยส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้มอบหมายให้ผู้อ�านวยการส�านักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลายและคณะ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเสนอ
แนวทางแก้ไขปัญหา และตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งข้อกล่าวหาของผู้ร้องไม่เป็นความจริงที่ว่าคณะกรรมการ
ไม่ตรวจสอบข้อมูลจากผู้ร้องและคณะ นอกจากนี้ ส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๑ ได้แต่งตั้ง
คณะกรรมการ ๒ ชุดในการตรวจสอบ ซึ่งคณะกรรมการทั้ง ๒ ชุดมีความเห็นว่าผู้ถูกร้องไม่ได้มีพฤติกรรมส่อไปใน
ทางทุจริต ส่วนประเด็นการกล่าวหาว่าผู้ถูกร้องมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น การใช้ถ้อยค�าหยาบคาย การใช้ความ
รุนแรงกับนักเรียน เป็นต้น คณะกรรมการเห็นว่าไม่มีหลักฐานว่าผู้ร้องมีพฤติกรรมตามที่กล่าวหา คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาประเด็นค�าร้องแล้ว เห็นว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ว่าด้วยเรื่องสิทธิ
เสรีภาพในชีวิตและร่างกายอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็กนั้น รัฐธรรมนูญได้รับรองคุ้มครองว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและ
เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะ
กระท�ามิได้ แต่การลงโทษตามค�าพิพากษาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย หรือ
ไร้มนุษยธรรม และบุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายหญิง
มีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความ
พิการ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพ สถานะบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา
อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญจะกระท�ามิได้ ตามมาตรา ๓๐ ประกอบกับ
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับรองและคุ้มครองไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดกระท�าอันเป็นการทารุณกรรม
ต่อร่างกายหรือจิตใจเด็ก รวมถึงบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนที่ไม่สมควร ท�าให้เด็ก
มีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระท�าผิด
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีตามค�าร้องเป็นประเด็นการบริหารภายในของหน่วยงานในสังกัด
ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งส�านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต ๑๑ ได้มีการ
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นไปตามระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบกับส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ด�าเนินการมอบหมายให้ผู้อ�านวย
การส�านักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลายและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเกิดความ
เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้ง ๒ ชุด ต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า กรณี
ร้องเรียนดังกล่าวไม่มีมูลตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ทั้งนี้ ผู้ร้องสามารถใช้สิทธิด�าเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายก�าหนดได้
70