Page 69 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 69

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ






           ร่างกายนายเอ ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนอาศัยข้อเท็จจริงค�าให้การนี้ ประกอบกับพยานหลักฐานขณะนั้น คือ

           อาวุธมีด และขวาน แล้วแจ้งข้อหาท�าร้ายร่างกายผู้อื่น รวมถึงแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่าพยายามฆ่าผู้อื่น ภายหลัง
           ได้รับเอกสารการชันสูตรบาดแผลของนายเอ คู่กรณี ซึ่งปรากฏว่ารุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้ จึงถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจ
           ในการแจ้งข้อกล่าวหาภายใต้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานตามสมควรแล้ว

               ส�าหรับกรณีที่ผู้ร้องร้องเรียนว่าพนักงานสอบสวนด�าเนินคดีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว โดยมิได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่นายเอ คู่
           กรณีด้วยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ร้องแล้ว ได้สอบปากค�า
           นายเอ คู่กรณี ที่โรงพยาบาล และสอบปากค�าพยานแวดล้อมที่อยู่บริเวณที่เกิดเหตุ จ�านวน ๒ คน สรุปว่าผู้ร้องเป็น

           ผู้ท�าร้ายร่างกายนายเอ ฝ่ายเดียว พยานแวดล้อมเห็นผู้ร้องท�าร้ายนายเอ ฝ่ายเดียว ประกอบกับพนักงานสอบสวน
           ได้พิจารณาแผลตามร่างกายผู้ร้องพบว่าได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าผากเพียงเล็กน้อยและบริเวณข้อศอกพบรอยถลอก

           ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด จึงมิได้แจ้งข้อกล่าวหานายเอ พิจารณาแล้วเห็นว่าพนักงานสอบสวนใช้ดุลพินิจในการ
           ไม่แจ้งข้อกล่าวหานายเอ เป็นไปตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้เป็นการกระท�า หรือละเลยการกระท�าอันเป็นการ
           ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องอย่างใด ทั้งนี้ หากผู้ร้องมีพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าผู้ร้อง

           ป้องกันตัวจากการท�าร้ายของนายเอก็สามารถยกข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่อสู้ในชั้นศาลได้
               อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนนั้น ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติได้มีค�าสั่งที่ ๔๑๔/๒๕๕๖

           ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เรื่อง ก�าหนดการอ�านวยความยุติธรรมในคดีอาญา การท�าส�านวนสอบสวน และ
           มาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวน โดยก�าหนดให้พนักงานรับแจ้ง
           เหตุและลงหลักฐานรับค�าร้องทุกข์หรือค�ากล่าวโทษและรีบด�าเนินการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ซึ่งจากการตรวจสอบ

           ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพนักงานสอบสวน สถานีต�ารวจนครบาลลุมพินีได้รับร้องทุกข์ตั้งแต่ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๔ แต่
           สรุปส�านวนการสอบสวนส่งผู้บังคับบัญชา วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ๒ ปี ๙ เดือน โดยสถานี
           ต�ารวจนครบาลลุมพินีชี้แจงว่า เนื่องจากคดีมีพนักงานสอบสวนรับผิดชอบหลายคน และจากการตรวจสอบพบว่า

           ร้อยต�ารวจเอก บ. ได้ท�าส�านวน เป็นเวลา ๑ ปี ๗ เดือน ยังไม่เสร็จแล้วย้ายไปสถานีต�ารวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ และ
           ทางสถานีต�ารวจนครบาลลุมพินีได้มีหนังสือไปยังสถานีต�ารวจนครบาลทุ่งมหาเมฆเพื่อพิจารณาข้อบกพร่องดังกล่าว
           คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมเห็นว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริงเสร็จ

           สิ้นแล้ว จึงเห็นควรยุติการตรวจสอบและเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่า กรณีตามค�าร้องพนักงาน

           สอบสวนได้ด�าเนินการตามขั้นตอนตามที่กฎหมายก�าหนดแล้ว อีกทั้งสถานีต�ารวจนครบาลลุมพินีได้มีหนังสือแจ้ง
           ให้สถานีต�ารวจนครบาลทุ่งมหาเมฆพิจารณาเรื่องท�าการสอบสวนล่าช้าไปตามอ�านาจหน้าที่แล้ว จึงมีมติให้ยุติเรื่อง
           (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๓๗๕/๒๕๕๗)





















                                                         68
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74