Page 66 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 66

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ





                                                             ๒๘

                     ค�าร้องที่ ๔๗๔/๒๕๕๖: กรณีบุตรสาวถูกเพื่อนชายล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน




                     ผู้ร้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖ ว่าบุตรสาวผู้ร้อง ชื่อ นางสาว
                 เอ (นามสมมุติ) อายุ ๑๗ ปี ก�าลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียน ส. ซึ่งเป็นโรงเรียนประจ�าของรัฐแห่งหนึ่ง
                 ในเขตปริมณฑล เป็นผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่สามารถฟังได้บ้าง หรือพูดได้บ้าง เมื่อมีเครื่องช่วยฟัง

                 สามารถสื่อสารเป็นค�าสั้น ๆ และมีโรคประจ�าตัว คือ โรคหัวใจรั่ว ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของ
                 โรงเรียน และครูประจ�าชั้น กรณีบุตรสาวถูกเพื่อนชายล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียนและได้แจ้งความด�าเนิน
                 คดีแล้ว แต่คดีความไม่คืบหน้า

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพและร่างกาย อัน
                 เกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก สิทธิสตรี และคนพิการ จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                 ด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล ด�าเนินการตรวจสอบ โดยอาศัยอ�านาจตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                 ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (ซึ่งบังคับใช้ในขณะนั้น) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                 (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                 หมวด ๓ ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิด
                 สิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕  สรุปผลการตรวจสอบ ดังนี้
                     ผู้ร้องอ้างว่า นางสาวเอ เป็นเด็กพิเศษ บกพร่องทางการได้ยิน มีโรคหัวใจรั่วเป็นโรคประจ�าตัว มีอาการเส้นเลือด

                 แดงรั่วตรงรอยต่อ แพทย์รักษาโดยการใส่คอยเทียม ถูกเพื่อนนักเรียนชาย ชื่อ นาย ก. (นามสมมุติ) อายุ ๑๘ ปี ข่มขืน
                 กระท�าช�าเราในห้องน�้าชายของโรงเรียน หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทางโรงเรียนไม่เคยแจ้งให้ผู้ร้องทราบเกี่ยวกับการ

                 สอบสวนพฤติกรรมเด็กนักเรียน แต่ผู้ร้องทราบเรื่องจากการสังเกตจากอาการของนางสาวเอ บุตรสาว ซึ่งมีอาการ
                 ซึมเศร้า ไม่ยอมพูด เก็บตัว ไม่รับประทานอาหาร นางสาวเอได้บอกกับล่ามว่าในช่วงที่เรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา
                 ปีที่ ๑ เคยถูกเพื่อนผู้ชายหลายคนใช้จานตีหัว และแทงด้วยปากกา แต่กรณีถูกข่มขืนในห้องน�้า นางสาวเอยืนยัน

                 ว่านาย ก. ใช้ก�าลังบังคับกระชากเข้าไปในห้องน�้า และไม่มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนาย ก. มาก่อน ผู้อ�านวยการ
                 โรงเรียนชี้แจงว่าขณะเกิดเหตุติดราชการภายนอก จึงไม่ได้ติดต่อผู้ปกครองเข้ามาที่โรงเรียนทันที และในช่วงเวลา
                 เรียนจะไม่มีครูเดินตรวจห้องน�้าซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุ เพราะครูต้องสอนในห้องเรียน ผู้ร้องได้แจ้งความด�าเนินคดี

                 กับนาย ก. และศาลได้พิพากษาถึงที่สุดลงโทษนาย ก. ตามค�าพิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี
                 และใบส�าคัญแสดงว่าคดีถึงที่สุด คดีหมายเลขแดงที่ ๗๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
                     ต่อมา หลังเกิดเหตุครูประจ�าชั้นที่โรงเรียนยังกล่าวหา นางสาวเอ “ว่าเป็นโรคขาดผู้ชายไม่ได้ ต้องน�าไปบ�าบัด

                 มีฮอร์โมนผิดปกติเพราะเป็นผู้พิการ” เป็นเหตุให้ผู้ร้องแจ้งความร้องทุกข์ในข้อหาหมิ่นประมาท แต่เนื่องจากพยาน
                 หลักฐานไม่เพียงพอ พนักงานอัยการศาลแขวงนนทบุรีสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา กรณีนางสาวเอ ถูกครูประจ�าชั้นท�าร้าย

                 ร่างกายโดยใช้ไม้ขนไก่ตี กระชากผมและตีที่หลังบุตรสาวของผู้ร้อง เป็นเหตุให้เกิดอาการชักนั้น ผู้ร้องเห็นว่าแม้ไม่มี
                 เลือดตกยางออก แต่ส่งผลให้เกิดภาวะทางจิตใจและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อคอยเทียมที่หัวใจ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้











                                                                65
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71