Page 73 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 73

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ






           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
           แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ ซึ่งมีประเด็นดังต่อไปนี้ (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๒๖๒/๒๕๕๖)



               ประเด็นที่ ๑ เจ้าหน้าที่ได้กระท�าหรือละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีปลอมแปลงลายมือ
           ชื่อผู้ร้องในบันทึกตรวจยึดในชั้นจับกุม และไม่บันทึกรายการทรัพย์สินที่ตรวจยึดไว้เป็นเหตุให้ทรัพย์สินสูญหาย

           ซึ่งประเด็นนี้เป็นเพียงข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องฝ่ายเดียว ประกอบกับคดีนี้ผู้ร้องได้ร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่ชุด
           จับกุมต่อพนักงานสอบสวน สถานีต�ารวจภูธรหนองหาน โดยพนักงานสอบสวนได้รับค�าร้องทุกข์และได้ส่งเรื่องให้
           ส�านักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค ๔ จังหวัดขอนแก่น พิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่มีการกระท�าหรือละเลย

           การกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และผู้ร้องมีช่องทางต่อสู้คดีที่ร้องทุกข์ไว้แล้ว



               ประเด็นที่ ๒ พนักงานสอบสวน สถานีต�ารวจภูธรหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กระท�าหรือละเลยการกระท�า
           อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีไม่รับค�าร้องทุกข์กล่าวโทษในคดีปลอมแปลงลายมือชื่อในบันทึกการตรวจยึด
           ทรัพย์สินชั้นจับกุมหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้จากการตรวจสอบพบว่าพนักงานสอบสวน สถานีต�ารวจภูธรหนองหาน

           ได้รับค�าร้องทุกข์ของผู้ร้องไว้และได้ส่งเรื่องให้ส�านักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขตพื้นที่ ๔
           จังหวัดขอนแก่นพิจารณาแล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าพนักงานสอบสวน สถานีต�ารวจภูธรหนองหาน ไม่รับค�าร้องทุกข์

           ของผู้ร้องตามที่กล่าวอ้าง จึงยังไม่มีการกระท�าหรือการละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น


               ประเด็นที่ ๓ กรณีที่ผู้ร้องขอให้ตรวจสอบทรัพย์สินที่ไม่ได้บันทึกไว้ในบันทึกการตรวจยึดทรัพย์สิน และ

           ช่วยเหลือให้ได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดคืนจากส�านักงานคณะกรรมการป้องกันละปราบปรามยาเสพติด อยู่ในอ�านาจ
           หน้าที่ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะด�าเนินการได้หรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ ไม่ปรากฏว่ามีพยานหลัก
           ฐานที่เชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมเป็นผู้น�าทรัพย์สินของผู้ร้องไปโดยไม่ได้บันทึกไว้ในบันทึกการตรวจยึดทรัพย์สิน

           ประกอบกับเห็นว่าการที่ส�านักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ท�าการยึดทรัพย์สินของ
           ผู้ร้องไว้ เป็นการยึดโดยอาศัยอ�านาจตามพระราชบัญญัติมาตรการปราบปรามผู้กระท�าความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
           พ.ศ. ๒๕๓๔ การขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดดังกล่าวมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติขั้นตอนและวิธีการ

           ไว้เป็นการเฉพาะ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่อาจใช้อ�านาจในการด�าเนินการให้ความช่วยเหลือแก่
           ผู้ร้องให้ได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดได้ ซึ่งในกรณีนี้หากผู้ร้องเห็นว่าการยึดทรัพย์สินดังกล่าวไม่ถูกต้องก็สามารถฟ้องร้อง

           ด�าเนินคดีได้ ประกอบกับในกรณีนี้ได้พยายามติดต่อผู้ร้องเพื่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว ทางหมายเลขโทรศัพท์
           ที่ผู้ร้องแจ้งไว้หลายครั้ง แต่ไม่สามารถติดต่อผู้ร้องได้



               คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาทั้งสามประเด็นข้างต้นแล้วไม่พบการกระท�าหรือการละเลยการกระท�าอันเป็นการ
           ละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ทั้งนี้ สมควรแจ้งให้ผู้ร้องทราบด้วยว่าหากผู้ร้องเห็นว่าหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้

           กระท�าหรือละเลยการกระท�า อันเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ก็สามารถใช้สิทธิในการน�าเรื่องฟ้องร้องเป็น
           คดีต่อศาลได้ตามกระบวนการยุติธรรม









                                                         72
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78