Page 76 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 76

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ





                 ๒ การก�าหนดให้ระบุข้อมูลบางอย่างในใบสมัครงานซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติและการ
                     ก�าหนดคุณสมบัติเฉพาะ (Specification) หรือคุณสมบัติอันเป็นที่ต้องการพิเศษ (Preference)

                     ในการประกาศรับสมัครงาน

                     ผู้ให้ข้อมูลแสดงความเห็นว่า “การสมัครงานออนไลน์ของผู้ให้บริการจัดหางาน โดยการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์

               มีการระบุให้กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างที่อาจท�าให้ถูกเลือกปฏิบัติในการตัดสินใจจ้างงาน โดยผู้สมัครไม่สามารถเว้น
               ว่างไว้ได้ หากเว้นว่างไว้ระบบจะก�าหนดให้ต้องกรอกจึงจะผ่านไปด�าเนินการขั้นตอนต่อไปได้”
                     “การสมัครงานโดยการกรอกใบสมัครที่เป็นเอกสาร มีการระบุให้กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง ที่อาจท�าให้ถูก

               เลือกปฏิบัติในการตัดสินใจจ้างงาน โดยผู้สมัครไม่สามารถเว้นว่างไว้ได้ หากเว้นว่างไว้ก็จะถูกเจ้าหน้าที่ที่ตรวจรับใบ
               สมัครบอกให้กรอกให้ครบ”
                     “ข้อมูลที่ต้องให้ระบุในใบสมัครงานที่ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าอาจท�าให้ตนถูกเลือกปฏิบัติ เช่น ศาสนา ความเชื่อ สัญชาติ

               ของบิดามารดา สถานภาพการสมรส รายได้ รายได้ของครอบครัว”
                     “ใบสมัครงานก�าหนดให้ต้องระบุ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ จะส่งผลให้เกิดการคัดเลือกโดยมีอคติเกี่ยวกับศาสนา
               เชื้อชาติ แทนที่จะค�านึงถึงความสามารถที่เกี่ยวกับงานนั้น”

                       “การกรอกเอกสารของหน่วยราชการที่ให้ระบุศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่”
                       “การรับสมัครงานโดยระบุเจาะจงสถาบันการศึกษา เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ หากไม่ระบุในใบสมัครแต่ใช้

               เหตุดังกล่าวมาเป็นปัจจัยในการคัดเลือกและตัดสินใจจ้าง จะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่”
                     การประกาศรับสมัครงานบางกรณีมีการก�าหนดคุณสมบัติเฉพาะ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการ
               เลือกปฏิบัติ เช่น สถาบันการศึกษา เพศ อายุ สภาพภายนอกของร่างกาย น�้าหนัก ส่วนสูง

                     กรณีน�าเหตุต่าง ๆ ข้างต้นซึ่งเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ โดยไม่ประกาศในการรับสมัครแต่ใช้เหตุเหล่านี้เป็นเกณฑ์
               ในการพิจารณารับเข้าท�างาน




                 ๓ ปัญหาการก�าหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ “ประวัติอาชญากรรม”


                     ในประเด็นการบังคับให้ต้องไปตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือเพื่อตรวจประวัติอาชญากรรมก่อนเข้าท�างาน ผู้ให้ข้อมูล
               ตั้งค�าถามว่า ประวัติอาชญากรรมมีความส�าคัญและจ�าเป็นอย่างไรส�าหรับการเข้าท�างาน การที่บุคคลเคยต้องโทษและ
               ได้พ้นโทษแล้ว ไม่สามารถมีโอกาสกลับตัวเป็นคนดีและประกอบอาชีพสุจริตได้ อาจเป็นการผลักดันให้ต้องไปประกอบ

               อาชีพไม่สุจริตอีก
                     ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “บริษัท xxx ก�าหนดห้ามผู้มีประวัติท�าผิดอาญาเข้าท�างาน โดยไม่ค�านึงว่าความผิดที่เคยท�า
               นั้นเกี่ยวข้องกับต�าแหน่งงานที่สมัครหรือไม่”

                     ผู้ให้ข้อมูลยกประเด็นว่า “…สังคมยังคงมีแนวคิดว่า คนมีประวัติอาชญากรรมเป็นคนไม่ดี แต่ในปัจจุบัน ประวัติ
               อาชญากรรมอาจเกิดกับคนที่ไม่ได้มีความชั่วร้ายเหมือนอย่างพวกอาชญากร เช่น ผู้กระท�าความผิดตาม พ.ร.บ.

               คอมพิวเตอร์ ซึ่งท�าแค่โพสต์ข้อมูลด่ากันหรือแชร์ข้อมูลที่หมิ่นประมาทคนอื่น ก็มีความผิดติดคุกได้แล้ว เพียงแค่นี้ก็กลาย
               เป็นคนมีประวัติติดตัวเสียอนาคตไปหมด ...”









                                                               75
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81