Page 67 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 67

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ






               ปัจจุบันผู้ร้องได้ย้ายนางสาวเอ ไปเรียนอีกโรงเรียนหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้ให้การดูแลเอาใจใส่อย่างดี และ
           บุตรสาวผู้ร้องมีโอกาสไปแข่งขันความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และได้รับรางวัล สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนดังกล่าว

               จากที่ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการฯ พบว่าโรงเรียนดังกล่าวมีสภาพแวดล้อมที่มีมุมอับ
           หลายที่ โดยเฉพาะบริเวณหน้าห้องน�้าชายที่เป็นสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ใกล้รั้วด้านหลังโรงเรียน ภายในโรงเรียนไม่

           ปรากฏว่ามีกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ใช้ป้องกันเหตุอันตราย รั้วของโรงเรียนมีลักษณะต�่าเกินไปสามารถปีนข้ามได้
               คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคลได้พิจารณา
           ค�าร้องและรับฟังข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่า

               ๑. กรณีนางสาวเอ ถูกนาย ก. นักเรียนโรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระท�าช�าเรา ผู้ร้องได้แจ้งความร้องทุกข์ และ
           ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรีได้มีค�าพิพากษาถึงที่สุดลงโทษนาย ก. ผู้กระท�าความผิดฐานข่มขืนกระท�า

           ช�าเราแล้ว
               ๒. กรณีนางสาวเอ ถูกครูประจ�าชั้นท�าร้ายร่างกายนั้น ผู้ร้องได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานี
           ต�ารวจภูธรบางบัวทอง และพนักงานอัยการสั่งฟ้องครูผู้ก่อเหตุ ฐานท�าร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายต่อ

           ศาลแขวงจังหวัดนนทบุรี ตามค�าฟ้องคดีหมายเลขด�าที่ ๔๘๙๔/๒๕๕๗
               ๓. กรณีครูประจ�าชั้นของนางสาวเอ ต่อว่าผู้ร้องและใส่ร้ายว่านางสาวเอ “เป็นโรคหิวผู้ชายต้องน�าไปบ�าบัด มี
           ฮอร์โมนผิดปกติเพราะเป็นพิการ” ผู้ร้องได้แจ้งความร้องทุกข์ แต่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่

           เพียงพอ คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ค�าสั่งพนักงานอัยการเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ โรงเรียน
           ส. ยังมีอ�านาจสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและด�าเนินการต่อไป ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะปรากฏเป็นประการใด แต่
           สถานศึกษาจะต้องตระหนักถึงการอบรม ฝึกทักษะ ปรับทัศนคติให้กับบุคลากรในสถานศึกษาทุกคนให้ปฏิบัติต่อเด็ก

           พิการอย่างถูกต้อง เหมาะสม เคารพและค�านึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
               ๔. กรณีสถานที่และสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา พิจารณาแล้วว่าโรงเรียน

           ส. มีมุมอับหลายที่ ไม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) โรงเรียนในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการรักษา
           ความปลอดภัยภายในโรงเรียน เมื่อเกิดการละเมิดทางเพศหรือท�าร้ายร่างกายในโรงเรียน ผู้บริหารตลอดจนบุคลากร
           ที่เกี่ยวข้องก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้ ตามหลักปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง (Duty of Care)

           กล่าวคือ การที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ดูแลไม่ให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน บุคลากร และโรงเรียน
           อีกทั้งต้องดูแลโรงเรียนหรือบุคลากรไม่ให้ด�าเนินการโดยสร้างความเสียหายแก่สังคมด้วย

               นอกจากนี้ กรณีที่โรงเรียนล็อคกุญแจประตูหอนอนเพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันเด็กนักเรียนหนีออก
           นอกอาคาร ถึงแม้ว่ามีครูเวรเฝ้าตัวอาคารก็ตาม คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าน่าจะเกิดอันตรายขึ้นได้หากมีกรณีไฟไหม้
           หรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ทั้งยังอาจเป็นการจ�ากัดสิทธิเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของนักเรียนเกินสมควรอีกด้วย

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาค�าร้องและความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ แล้วมีความเห็น
           ว่า กรณีตามค�าร้องเป็นประเด็นเดียวกับเรื่องที่ฟ้องเป็นคดีต่อศาลแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่
           อาจใช้อ�านาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขได้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

           พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๒ จึงเห็นควรยุติเรื่อง และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อโรงเรียน ส. ส�านักบริหารการศึกษา
           พิเศษ และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมอบหมายให้ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติติดตามผลการ
           ด�าเนินการต่อไป ดังนี้







                                                         66
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72