Page 74 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 74

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ






                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน
                 ๒๕๕๖ แล้วมีความเห็นว่า พิจารณาทั้งสามประเด็นข้างต้นแล้วไม่พบการกระท�าหรือการละเลยการกระท�า
                 อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ทั้งนี้ สมควรแจ้งให้ผู้ร้องทราบด้วยว่าหากผู้ร้องเห็นว่าหน่วยงานของรัฐ

                 ดังกล่าวได้กระท�าหรือละเลยการกระท�า เป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ก็สามารถใช้สิทธิในการน�าเรื่อง
                 ฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลได้ตามกระบวนการยุติธรรม







                                                             ๓๓


                     ค�าร้องที่ ๔๙/๒๕๕๘: กรณีการปฏิบัติอันมีลักษณะล่วงละเมิดทางเพศ โดยภาคเอกชน


                     ผู้ร้องร้องเรียนเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ ว่าผู้ร้องไปชมคอนเสิร์ต ณ เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๑๐ -
                 ๑๑ มกราคม ๒๕๕๘ โดยมีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นผู้จัดคอนเสิร์ต ในวันที่มีการแสดงบริษัทได้ก�าหนดมาตรการ

                 ในการตรวจค้นอาวุธและกล้องบันทึกภาพก่อนการเข้าชมคอนเสิร์ต ซึ่งลักษณะการตรวจค้นนั้น มีการก�าหนดให้
                 เจ้าหน้าที่ผู้ชายตรวจค้นกระเป๋าสัมภาระ เจ้าหน้าที่ผู้หญิงตรวจค้นร่างกาย ซึ่งการตรวจค้นดังกล่าวมีการใช้มือ

                 สัมผัสบริเวณหน้าอก อวัยวะเพศ และต้นขา โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าว่าจะตรวจอะไรบ้าง เป็นลักษณะล่วงละเมิด
                 ทางเพศ จึงขอให้ตรวจสอบ
                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องแล้วเห็นว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพใน

                 ชีวิตและร่างกาย อันเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
                 มาตรา ๒๕๗ (ที่บังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุ) จึงเป็นกรณีที่อยู่ในอ�านาจของคณะกรรมการฯ ที่จะสามารถตรวจสอบได้
                 โดยอาศัยอ�านาจตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๑๕

                     คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล และคณะ
                 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พิจารณาแล้วปรากฏว่ากรณีกล่าวอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและ
                 ร่างกายจากมาตรการตรวจค้นอาวุธและกล้องบันทึกภาพก่อนการเข้าชมคอนเสิร์ตนั้น บริษัทผู้จัดการแสดงไม่มี

                 เจตนาละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้เข้าชมคอนเสิร์ต การตรวจค้นกระท�าเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้เข้าชมคอนเสิร์ต
                 ให้ได้รับความปลอดภัยและไม่ให้กระท�าผิดกฎหมาย แต่วิธีกำรตรวจค้นโดยใช้มือสัมผัสร่ำงกำย อำจสุ่มเสี่ยงต่อ

                 กำรละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม หลังจากมีกรณีร้องเรียน ทางบริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงวิธีการตรวจค้นอาวุธ
                 และกล้องบันทึกภาพใหม่ ลดการใช้มือสัมผัสโดยการสวมถุงมือและมีการใช้เครื่องตรวจโลหะสแกนร่างกาย ดังนั้น
                 จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกร้องได้ด�าเนินการแก้ไขปรับปรุงแล้ว จึงมีมติให้ยุติเรื่อง (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๙๕๒/๒๕๕๘)

                     จากสภาพปัญหาและข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จะได้น�าไปวิเคราะห์ตามประเด็นต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องในบทที่ ๔
                 ต่อไป นอกจากนี้ ยังมีข้อพิจารณาว่า ผู้ร้องที่เห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในมิติต่าง ๆ มักอ้างว่า “ถูกเลือก

                 ปฏิบัติ” จึงน�าไปสู่การวิเคราะห์ต่อไปในบทที่ ๔ ว่า กรณีข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นการ “เลือกปฏิบัติ” ตามกรอบของ
                 กฎหมายสิทธิมนุษยชนหรือไม่ อย่างไร









                                                               73
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79