Page 64 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 64
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
ในทะเบียนบ้านตามระเบียบส�านักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดท�าทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๕๐๓ ข้อ ๑๐๓ หรือหาก
พิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นชาวไทยภูเขาดั้งเดิมติดแผ่นดินที่มีบุพการีเกิดในราชอาณาจักรไทย ต้องพิจารณาตามกฎหมาย
ในการก�าหนดสถานะต่อไป ทั้งนี้ เมื่อนาย ว. ได้ด�าเนินการยื่นค�าร้องต่อหน่วยงานที่มีอ�านาจหน้าที่แล้ว หำกพบว่ำ
หน่วยงำนปฏิเสธไม่ด�ำเนินกำรหรือกระบวนกำรพิจำรณำล่ำช้ำ หรือปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตำมที่กฎหมำยก�ำหนด
อันเป็นกำรกระท�ำหรือละเลยกำรกระท�ำอันเป็นกำรละเมิดสิทธิมนุษยชน นาย ว. สามารถยื่นค�าร้องต่อ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด�าเนินการตรวจสอบใหม่ได้ อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติมีมติให้ยุติเรื่อง (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๙๕๒/๒๕๕๘)
๒๖
ค�าร้องที่ ๕๙๒/๒๕๕๖: กรณีสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
ผู้ร้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าได้ไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง หลัง
จากนั้นปรากฏว่าบุตรของผู้ร้องมีความผิดปกติทางร่างกายหลายประการและกลายเป็นผู้พิการ โรงพยาบาลจ่ายค่า
ช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ต่อมา ผู้ร้องยื่นค�าร้องขอรับเงินกรณีบุตรกลายเป็นผู้พิการต่อส�านักงาน
สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม แต่ยังไม่มีการพิจารณา จึงขอให้ตรวจสอบ
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมด�าเนินการตรวจสอบ คณะ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้ยื่นค�าร้องเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
ภายในก�าหนด ๑ ปี ตามที่ข้อบังคับส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๙ ก�าหนดไว้
จึงท�าให้ไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เห็นว่า การก�าหนดให้ยื่นค�าร้องเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือภายใน ๑ ปีนั้น
ไม่ใช่อายุความ แต่เป็นระยะเวลาการใช้สิทธิ หากมีเหตุขยายเวลาได้ เทียบเคียงค�าพิพากษาฎีกา ที่ ๓๖๒๒/๒๕๔๘ ซึ่ง
ข้อบังคับดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิแก่บุคคล ในการยื่นค�าขอรับเงินช่วยเหลือเนื่องจากได้รับผลกระทบ
จากการรักษาพยาบาล แต่การก�าหนดระยะเวลายื่นค�าขอภายใน ๑ ปีนั้น บุคคลที่ได้รับผลกระทบอาจยังไม่ทราบ
ถึงผลกระทบ เช่น กรณีผู้ร้องคลอดบุตรและยังไม่พบอาการผิดปกติในทันที แต่อาจพบอาการผิดปกติในปี
ต่อมา ท�าให้ผู้เสียหายไม่อาจทราบได้ว่าสิทธิในการยื่นค�าร้องเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือนับตั้งแต่เมื่อใด นอกจากนี้
หากหน่วยผู้ให้บริการไม่ได้ยื่นค�าร้องแทนผู้ได้รับผลกระทบ และไม่ได้แจ้งให้ผู้ได้รับผลกระทบทราบถึงสิทธิ
ในการยื่นค�าร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้นั้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบเข้าถึงสิทธิดังกล่าว
จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับการก�าหนดระยะ
เวลายื่นค�าขอภายใน ๑ ปี โดยก�าหนดข้อยกเว้นหากมีเหตุสุดวิสัย ความจ�าเป็นโดยเทียบเคียงกับค�าพิพากษาฎีกา
ดังกล่าวข้างต้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ให้ส�านักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยน�าเอาค�าพิพากษา
ฎีกา ที่ ๓๖๒๒/๒๕๔๘ ประกอบการพิจารณาตีความเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นค�าร้อง ควรก�าหนดข้อยกเว้น
เรื่องระยะเวลา ๑ ปี ไว้ด้วย เช่น มีเหตุสุดวิสัย มีเหตุสมควร หรือมีเหตุอื่นจ�าเป็นที่ไม่อาจยื่นค�าร้องภายในก�าหนด
เวลา (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๒๗๗/๒๕๕๘)
63