Page 63 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 63
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
ตามความจริงได้ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๔ (๒) แต่ทางกรมการปกครอง
ได้มีหนังสือแจ้งกลับมาว่า ได้พิจารณาใบรับรองแพทย์และหลักฐานอื่นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบุว่ามี
สภาพเพศก�ากวมมาตั้งแต่เกิด ซึ่งได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการวินิจฉัยและทดสอบกายภาพ สภาพ
จิตใจ มีลักษณะการแสดงออกทางร่างกายแบบหญิง สภาพจิตใจเป็นหญิงชัดเจน และได้รับการผ่าตัดรักษาโรคตาม
ลักษณะแสดงออกทางร่างกายและจิตใจเป็นหญิงตามก�าเนิดแล้ว ผู้ร้องย่อมสามารถแก้ไขรายการค�าน�าหน้านาม
ตนเองในเอกสารการทะเบียนราษฎร์ให้ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏได้ โดยยื่นค�าร้องต่อที่ส�านักทะเบียน
อ�าเภอหรือส�านักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบัน
มติของคณะอนุกรรมการด้านสิทธิของผู้สูงอายุ ผู้พิการ บุคคลหลากหลายทางเพศ และการสาธารณสุข พิจารณา
จากค�าร้องและเอกสารหลักฐานเห็นว่ากรณีของผู้ร้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะด�าเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลทะเบียน
ประวัติราษฎร เพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๔
(๒) ซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลในการให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ จึงแจ้งไปยังผู้ร้องให้ด�าเนินการตามขั้นตอนเพื่อขอเปลี่ยน
ค�าน�าหน้านามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องและรายงานของคณะอนุกรรมการฯ แล้วเห็นว่า
ผู้ร้องมีสภาพเพศก�ากวมมาตั้งแต่ก�าเนิด แต่ได้รับการรักษาผ่าตัดให้เป็นเพศหญิงแล้ว และกรมการปกครอง
เห็นว่าผู้ร้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเปลี่ยนค�าน�าหน้านามได้ให้ตรงกับสภาพเพศที่แท้จริงขอตนเองได้ เพื่อให้สามารถ
ใช้ชีวิตความเป็นอยู่ทั้งร่างกายและจิตใจตามความจริงได้ตามปกติ ซึ่งผู้ร้องได้ด�าเนินการยื่นขอแก้ไขค�าน�าหน้านาม
ให้ตรงกับความเป็นจริงเรียบร้อยแล้ว จึงเห็นควรยุติเรื่อง
๒๕
ค�าร้องที่ ๔๙/๒๕๕๘: กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับสถานะทางบุคคลของกลุ่มชาติพันธุ์
ผู้ร้องได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่านาย ว. ถือบัตรประจ�าตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะ
ทางทะเบียน และมีชาติพันธุ์ม้ง นาย ว. มีบุตร ๕ คน ที่เกิดในประเทศไทยมีบัตรประจ�าตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทาง
ทะเบียนเช่นกัน นาย ว. ต้องการให้บุตรมีสัญชาติไทยจึงขอให้ช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการด้านสิทธิเด็ก สตรี คนพิการ และความเสมอภาคของบุคคล และคณะอนุกรรมการด้านสถานะ
บุคคลและสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ และแรงงานข้ามชาติ ซึ่งพิจารณาค�าร้องแล้วเห็นว่า นาย ว. ยังไม่ได้ยื่นค�าร้อง
เกี่ยวกับงานทะเบียนต่อหน่วยงานที่มีอ�านาจหน้าที่ตามกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ยังไม่มีการละเมิด
สิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ยุติเรื่อง
อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หากมีข้อมูลว่านาย ว. หรือบุพการีเป็นชาวไทยภูเขา
ดั้งเดิมติดแผ่นดิน เห็นควรให้นาย ว. ด�าเนินการขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร์ตามระเบียบส�านัก
ทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎร์ให้แก่บุคคลพื้นที่สูง พ.ศ. ๒๕๔๓
โดยหากนาย ว. ได้รับการพิจารณาให้ลงรายการสัญชาติดังกล่าว บุตรของนาย ว. ทั้ง ๕ คน ก็สามารถขอเพิ่มชื่อ
62