Page 62 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 62

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ






                 พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ จึงเป็นกรณีที่อยู่ในอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ตามพระราชบัญญัติคณะ
                 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๑๕

                     จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าพนักงานสอบสวน สถานีต�ารวจภูธรเมืองตรัง ได้ส่งส�านวนการสอบสวนและ
                 ส่งตัวผู้ต้องหา ๒ คนไปยังอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรังแล้ว เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗
                 และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรังได้พิพากษาลงโทษผู้ต้องหาไปแล้วหนึ่งราย ส่วนผู้ต้องหาที่ ๒ ยังไม่ได้รับ

                 ผลคดีจากส�านักงานอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง
                     คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล พิจารณาแล้ว
                 ปรากฏว่ากรณีที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดยมีบุคคลพยายามข่มขืนกระท�า

                 ช�าเราที่โรงเรียน ซึ่งขณะนั้นผู้อ�านวยการโรงเรียนได้ทราบเรื่องแต่กลับไม่ด�าเนินการแก้ไขปัญหา ผู้ร้องและผู้ปกครอง
                 ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนแต่คดีไม่คืบหน้า ซึ่งจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า กรณีตามค�าร้อง

                 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรังได้พิพากษาลงโทษผู้ต้องหาไปแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
                 ตรังได้มีค�าพิพากษาแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่อาจใช้อ�านาจในการตรวจสอบและเสนอมาตรการ
                 การแก้ไขตามค�าร้องได้ จึงเห็นควรยุติเรื่อง

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาค�าร้องและความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ แล้ว เห็นควรยุติ
                 เรื่อง เนื่องจากศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรังได้พิพากษาแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่อาจ

                 ใช้อ�านาจในการตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขได้ ตามนัยมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
                 สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
                     อย่างไรก็ตาม เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เห็นควรส่งเรื่องไปให้กระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณา

                 ให้ก�าชับหน่วยงานในสังกัดมีมาตรการดูแลผู้เสียหายและแนวทางป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นกรณีนี้อีก (รายงาน
                 ผลการพิจารณา ที่ ๗๙๑/๒๕๕๘)




                                                             ๒๔


                     ค�าร้องที่ ๙๓/๒๕๕๕: กรณีขอเปลี่ยนค�าน�าหน้านามให้ตรงกับสภาพเพศ



                     ผู้ร้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่ามารดาของผู้ร้องให้ก�าเนิดผู้ร้องโดยสภาพเพศก�ากวม
                 กล่าวคือ มีทั้งอวัยวะเพศหญิงและชายในร่างกาย บิดาแจ้งเกิดระบุว่าผู้ร้องเป็นเพศชาย ผู้ร้องจึงใช้ชีวิตเพศชายแต่

                 ใจเป็นหญิงจนกระทั่งอายุ ๑๙ ปี ผู้ร้องได้ผ่าตัด อวัยวะเพศชายออก โดยความยินยอมของบิดาและมารดา ประกอบ
                 กับแพทย์โรงพยาบาล ศ. ได้วินิจฉัยว่าผู้ร้องมีลักษณะจิตใจ การแสดงออก และความรู้สึกเป็นผู้หญิงชัดเจน ผู้ร้อง

                 จึงได้ปรึกษาเรื่องเปลี่ยนค�าน�าหน้านาม ณ ที่ว่าการอ�าเภอแห่งหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ไม่สามารถด�าเนินการให้ได้
                     ค�าร้องนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่าอยู่ในอ�านาจพิจารณา จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ
                 ด้านสิทธิผู้สูงอายุ ผู้พิการ บุคคลหลากหลายทางเพศ และการสาธารณสุข ด�าเนินการตรวจสอบตามรายงานผล

                 การพิจารณา ที่ ๑๔๒/๒๕๕๗ พบข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการฯ ได้ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรม
                 การปกครอง แจ้งว่า กรณีของผู้ร้อง อยู่ในเกณฑ์ที่จะด�าเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เพื่อให้ถูกต้อง






                                                                61
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67