Page 61 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 61
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
ในกรณีนี้แม้บุคลากรของโรงเรียนจะไม่ต้องรับผิดต่อส่วนตัว แต่เนื่องจากการจัดการศึกษาเป็นการบริการ
สาธารณะอันเป็นหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการยังคงต้องรับผิดชดใช้เยียวยาค่าเสียหายตามหลัก Duty
of Care โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่กระท�าผิดหรือไม่
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบำย ดังนี้
ข้อ ๑ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการคลังควรร่วมกันหาวิธีการเยียวยาผู้เสียหายในกรณีนี้ โดยด�าเนินการ
จัดสรรเงินงบประมาณหรือเงินนอกงบประมาณ เพื่อชดใช้เยียวยาความเสียหายให้กับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
จากเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้ นอกจากนี้ ควรด�าเนินการจัดเตรียมงบประมาณไว้รองรับกรณีที่เกิด
อุบัติเหตุหรือความรุนแรงท�าให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพื่อเยียวยาความเสียหายอย่างรวดเร็ว
โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าเป็นความผิดที่ต้องมีผู้ใดรับผิดชอบหรือไม่
ข้อ ๒ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงสาธารณสุขควรร่วมกันพิจารณา
ด�าเนินการช่วยเหลือนักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวให้ได้รับการสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒ (๗) มาตรา ๓๓ (๑) ประกอบกับระเบียบกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยวิธีการสงเคราะห์เด็ก พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๑๐ เช่น ช่วยเหลือ
เด็กให้ได้รับการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ รวมทั้งติดตามโรคเครียดและให้ค�าปรึกษาแนะน�า ภายใต้มาตรฐาน
สูงสุดเท่าที่มีการให้บริการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ควรพิจารณาเงินช่วยเหลือครอบครัวของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บให้ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มเติม
ตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยการบริการกองทุน การพิจารณาอนุมัติ
การจ่ายเงิน และรายงานสถานะการเงิน และการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๓ กระทรวงศึกษาธิการควรก�าหนดวิธีการเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับ
เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยเฉพาะในมาตรา ๓๒ ประกอบกับกฎกระทรวงก�าหนด
มาตรฐานขั้นต�่าในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. ๒๕๔๙ และควร
ก�าหนดนโยบายให้สถานศึกษามีการเปิดท�าประกันภัยให้แก่เด็กนักเรียนหรือนักศึกษา
๒๓
ค�าร้องที่ ๑๓๑/๒๕๕๗: กรณีเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน
กรณีกล่าวหาเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ร้องร้องเรียน ว่าก�าลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล
ประจ�าอ�าเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง โดยผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ได้มีบุคคลพยายามข่มขืนกระท�าช�าเราผู้ร้องที่โรงเรียน
ซึ่งขณะนั้นผู้อ�านวยการโรงเรียนได้ทราบเรื่องที่เกิดขึ้น แต่กลับไม่ด�าเนินการแก้ไขปัญหา ผู้ร้องและผู้ปกครองได้เข้า
ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแต่คดีไม่คืบหน้า จึงขอให้ตรวจสอบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องแล้วเห็นว่า เป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิต
และร่างกายอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็ก อันเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
60