Page 49 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 49

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ






           เสรีภาพในการศึกษานั้น รัฐธรรมนูญได้รับรองคุ้มครองว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า
           สิบสองปีที่รัฐต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีที่ผู้ร้องร้อง

           เรียนว่า โรงเรียน ส. ได้กระท�าหรือละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีไม่ออกเอกสารแสดงผล
           การเรียน และหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา ให้กับนักเรียนโดยอ้างว่าไม่จ่ายค่าบ�ารุงการศึกษานั้น ปรากฏว่าปัจจุบัน
           ทางโรงเรียนได้ออกเอกสารแสดงผลการเรียนและหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา ให้กับนักเรียนคนดังกล่าวเรียบร้อย

           แล้ว จึงเห็นควรให้ยุติเรื่อง (ตามรายงานผลการพิจารณา ที่ ๙๔๘/๒๕๕๘)



                                                        ๑๒

               ค�าร้องที่ ๕๗๓/๒๕๕๕ และ ๓๓/๒๕๕๖: กรณีกล่าวอ้างว่ามีการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์

          การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ



               ผู้ร้องที่ ๑ เป็นรองปลัดเทศบาลต�าบล ส. ได้ร้องเรียน (ค�าร้องที่ ๕๗๓/๒๕๕๕) โดยอ้างว่านโยบายของส�านักงาน
           คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก�าหนดหลักเกณฑ์การรับสมัครนักเรียนเขตพื้นที่บริการและนอก

           เขตพื้นที่บริการ มีลักษณะเป็นการกีดกั้นทางการศึกษา อาจกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน และไม่เป็น
           ธรรมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติการศึกษา

           แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
               ผู้ร้องที่ ๒ เป็นผู้ปกครองของนักเรียนได้ร้องเรียน (ค�าร้องที่ ๓๓/๒๕๕๖) ว่านโยบายของส�านักงานคณะกรรมการ
           การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เกี่ยวกับการก�าหนดหลักเกณฑ์การรับสมัครนักเรียนเขตพื้นที่บริการและนอกเขตพื้นที่

           บริการ ท�าให้นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการมีสิทธิสอบคัดเลือกได้ทั้งสองกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนที่อยู่นอกเขตพื้นที่
           บริการไม่ได้รับความเป็นธรรม นอกจากนี้ นักเรียนที่เรียนอยู่ในเขตพื้นที่บริการตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถม

           ศึกษาปีที่ ๖ และนักเรียนที่มีผู้ปกครองรับราชการอยู่ในเขตพื้นที่บริการควรมีสิทธิสอบคัดเลือกเช่นเดียวกับนักเรียน
           ในเขตพื้นที่บริการโดยไม่ต้องใช้หลักฐานทะเบียนราษฎร์
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องแล้วเห็นว่าเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิ

           เสรีภาพในการศึกษาที่ได้รับการรับรองคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็น
           กรณีที่อยู่ในอ�านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการ
           ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคลพิจารณา โดยอาศัยอ�านาจตามรัฐธรรมนูญแห่ง

           ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
               จาการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่านโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัดส�านักงานคณะกรรมการ
           การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทุกปีการศึกษา (ประมาณ ๓๐ ปีมาแล้วตั้งแต่กรมสามัญศึกษาเดิม) จะมุ่งเน้นให้นักเรียน

           ได้เรียนใกล้บ้านเพื่อเดินทางสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง ดังนั้น จึงมีการก�าหนดเขตพื้นที่ของโรงเรียนตาม
           กฎหมาย เพื่อให้สิทธิเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ได้เข้าศึกษาก่อนโดยก�าหนดสัดส่วนนักเรียนในเขตพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ

           ๕๐ และนักเรียนทั่วไปไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ซึ่งกระบวนการคัดเลือก การจับสลากหรือการสอบก็ได้ก�าหนดสัดส่วน
           และวิธีการคัดเลือกซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน







                                                         48
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54