Page 46 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 46
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องและความเห็นของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้าน
กฎหมายและการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม มีความเห็นสรุปได้ว่า “กรณีที่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นบางต�าแหน่งได้
รับเงินเดือนตามระบบบัญชีไม่เท่าเทียมกันนั้น ... เป็นการก�าหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทน
ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมแก่รายได้และการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นอ�านาจของคณะกรรมการมาตรฐานงานบริหารงาน
บุคคลส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ (๑)”
ดังนั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังไม่มีการละเลยหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมแต่
อย่างใด ด้วยเหตุผลเดียวกันการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต้องเป็นไปตามบัญชีท้ายระเบียบส�านักนาย
ยกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๔๓๓/๒๕๕๗)
๘
ค�าร้องที่ ๔๘๔/๒๕๕๒: กรณีพิพิธภัณฑ์ชีวิตของวัด พ.น�าร่างผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์มาจัดแสดง
ผู้ร้องร้องเรียนว่า วัด พ. ได้จัดท�าพิพิธภัณฑ์ โดยการน�าร่างของผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์มาจัดแสดง พร้อมทั้ง
เขียนชื่อ-นามสุกล ประวัติ อาชีพของผู้ตาย ทั้งเป็นร่างที่ไม่สวมใส่เสื้อผ้า แม้จะมีการลงชื่อยินยอมของผู้ตายและ
ผู้ร้องกังวลว่าอาจจะยินยอมโดยไม่มีความอิสระ เนื่องจากอยู่ในสถานที่ดูแลของวัดเลยจ�าต้องยินยอม ทั้งนี้
ผู้ร้องเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งต่อผู้เสียชีวิตเองและญาติของผู้เสียชีวิตด้วย จึงให้ตรวจสอบ
คณะกรรมการอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และความเสมอภาคของ
บุคคล ตรวจสอบแล้วเห็นว่า ง
ประเด็นแรก การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ชีวิตในวัด พ. เป็นการสตัฟฟ์ (STUFF) ศพเสียชีวิตจากโรคเอดส์
โดยเปิดเผยชื่อ-สกุล ประวัติ อาชีพ ภายถ่ายของผู้เสียชีวิต และสภาพศพไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้าปกปิดกาย ลักษณะ
ดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิในเกียรติยศ และชื่อเสียงของผู้เสียชีวิต และบุคคลในครอบครัว ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕ ถือว่าเป็นการกระท�าอันมิบังควรต่อศพ ดูหมิ่นเหยียดหยามศพ
ดังนั้น การจัดแสดงศพที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะหรือมีคุณค่าต่อการให้ความรู้แก่สังคม จึงต้องอยู่บนพื้นฐาน
ที่จะต้องไม่กระทบสิทธิในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียชีวิตและครอบครัว แม้ผู้เสียชีวิตจะเจตนาบริจาคร่างเพื่อ
วัตถุประสงค์ดังกล่าวก็ตาม คณะกรรมการฯ แนะน�าให้ท�าการแก้ไขโดยปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของศพด้วย
ประเด็นที่สอง การที่ผู้เสียชีวิตได้ยินยอมบริจาคร่างหลังเสียชีวิตให้กับมูลนิธิเพื่อวัตถุประสงค์ให้บุคคลอื่น
ตระหนักถึงภัยโรคเอดส์นั้น เป็นการแสดงเจตจ�านงที่ไม่อยู่ภายใต้แรงกดดัน เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง ปรากฏว่า
วัดไม่ได้ท�าการข่มขู่ บังคับ ผู้ป่วยเจตนาบริจาคร่างเพื่อประโยชน์ต่อวัดและพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงน่าเชื่อว่าวัด
พ. ไม่ได้กดดัน บังคับ ผู้เสียชีวิตให้ยินยอมบริจาคร่าง ฉะนั้น การแสดงความยินยอมโดยสมัครใจและอิสระถือว่าเป็น
ไปตามวัตถุประสงค์อันแท้จริงอันเป็นฐานในหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิแสดงเจตจ�านงต่าง ๆ อย่างอิสระ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นควรให้ยุติเรื่อง และแจ้งความเห็นให้มูลนิธิ ธ. เจ้าของโครงการ และ
วัด พ. พิจารณาด�าเนินการต่อไป (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๖๒๔/๒๕๕๕)
45