Page 52 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 52

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ





                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาค�าร้องและความเห็นของคณะอนุกรรมการแล้ว มีความเห็น
                 สอดคล้องกับความเห็นของคณะอนุกรรมการโดยเห็นว่า จากกรณีผู้ร้องได้ร้องเรียนว่าถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมสอบ

                 คัดเลือกบุคคลเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ เนื่องจากยื่นเอกสารประกอบการสอบไม่ครบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง
                 กับเรื่องร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ยื่นฟ้องประธานกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
                 และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งคดีอยู่ระหว่างขั้นตอนของการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลปกครอง

                 สูงสุด ดังนั้น จึงควรยุติการตรวจสอบเพื่อรอผลคดีดังกล่าว ในการนี้ สมควรมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปยังกลุ่ม
                 สถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) และส�านักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อพิจารณาด�าเนิน

                 การตามอ�านาจหน้าที่ต่อไป



                                                             ๑๔


                     ค�าร้องที่ ๕๖๗/๒๕๕๓: กรณีการแต่งกายตามหลักศาสนาในการรับพระราชทานปริญญาบัตร



                     ผู้ร้องเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐทางภาคเหนือ มีความประสงค์จะ
                 แต่งกายให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร แต่ทางมหาวิทยาลัยไม่อนุญาต ผู้ร้อง
                 จึงร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็น

                 ว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจ
                 สอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและความเสมอภาคของบุคคล ด�าเนินการตรวจสอบ

                 ซึ่งปรากฏผลการพิจารณา ดังนี้ (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๒๙๘/๒๕๕๔)
                     คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและความเสมอภาคของ
                 บุคคล ด�าเนินการตรวจสอบ พบว่า ผู้ร้องมีความประสงค์จะแต่งกายให้ถูกหลักศาสนาอิสลามเพื่อเข้ารับพระราชทาน

                 ปริญญาบัตร คือ สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาวรัดข้อมือ สวมกระโปรงคลุมเท้า ใส่ผ้าคลุมศีรษะและสวมครุยวิทยฐานะ
                 ทับ แต่มหาวิทยาลัยอนุญาตให้สวมฮิญาบสีด�า แต่ต้องใส่กระโปรงสั้นสวมถุงน่องสีเข้มเท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลัก
                 ศาสนาอิสลาม มหาวิทยาลัยชี้แจงว่า มหาวิทยาลัยมิได้ก�าหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติใดที่ขัดต่อหลักศาสนาใด ๆ

                 แนวปฏิบัติที่ก�าหนดในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความศักดิ์สิทธ์ของพิธี
                 และความมีวินัย สอดคล้องกับหลักศีลธรรมจรรยาที่บัณฑิตพึงปฏิบัติ ส�าหรับบัณฑิตหญิงที่นับถือศาสนาอิสลาม
                 และประสงค์จะแต่งกายตามหลักศาสนาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรนั้น มหาวิทยาลัยอนุญาตให้แต่งกายโดย

                 สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาวรัดข้อมือ สวมกระโปรงสีด�ายาวตามหลักศาสนา ผ้าคลุมศีรษะสีด�า (ไม่ปิดปังใบหน้า) และ
                 สวมชุดครุยวิทยฐานะทับ แต่ต้องยื่นค�าร้องต่อคณะที่สังกัดเพื่อขออนุญาตมหาวิทยาลัย เพื่อที่คณะอนุกรรมการ

                 ฝ่ายพิธีการจะได้ประสานการจัดพิธีให้เรียบร้อย โดยมหาวิทยาลัยอนุญาตให้บัณฑิตแต่งกายตามหลักศาสนาทุกครั้ง
                     ต่อมา ผู้ร้องส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์พร้อมด้วยภาพถ่ายการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของผู้ร้อง โดย
                 ได้รับอนุญาตให้แต่งกายตามหลักศาสนา คณะอนุกรรมการเห็นว่าผู้ร้องได้รับการแก้ไขปัญหาตามความประสงค์

                 แล้ว จึงเห็นควรยุติเรื่อง










                                                                51
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57