Page 44 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 44

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ






                  ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือเวียน เกี่ยวกับ
                  ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ๓ ฉบับ ได้แก่ ๑) ประกาศ

                  กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแต่งกายของแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ๒) ประกาศกระทรวง
                  สาธารณสุข เรื่อง การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ

                  ๓) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแต่งกายของพนักงานผู้ช่วยกายภาพบ�าบัด พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้หน่วยงาน
                  ต่าง ๆ ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการแต่งกายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกรณี
                  ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่อนุญาตให้แต่งเครื่องแบบตามประกาศของกระทรวงฯ และให้ใช้ผ้าคลุมฮิญาบ ตามระเบียบ

                  ของกระทรวงฯ จึงเป็นกรณีที่ได้รับการพิจารณาแก้ไขโดยหน่วยงานที่มีอ�านาจหน้าที่แล้ว จึงเห็นควรให้ยุติเรื่อง
                  (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๙๒๒/๒๕๕๘)




                                                              ๖


                     ค�าร้องที่ ๕๔๔/๒๕๕๒ และ ๓๕/๒๕๕๗: กรณีบริษัทเอกชนไม่รับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าท�างาน


                     ผู้ร้องอ้างว่า ได้สมัครเข้าท�างานในบริษัท ท. ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่แห่งหนึ่งในต�าแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ

                 ร้านขายปลีกในห้างสรรพสินค้า โดยสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ ต่อมา บริษัทได้ส่งไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล
                 ผลปรากฏว่าผู้ร้องติดเชื้อเอชไอวี (ผู้ร้องทราบอยู่แล้ว) บริษัทจึงไม่รับผู้ร้องเข้าท�างาน ผู้ร้องเห็นว่าเป็นการกีดกัน
                 การเข้าท�างานโดยน�าเรื่องสุขภาพเป็นข้ออ้าง ซึ่งการติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้ส่งผลต่อคนรอบข้าง และไม่ได้ก่ออันตราย

                 ต่อผู้อื่น ผู้ร้องสามารถท�างานได้เหมือนบุคคลทั่วไป ผู้ร้องเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิในการประกอบอาชีพ และเลือก
                 ปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสุขภาพ จึงขอให้ตรวจสอบ

                     จากรายงานผลการพิจารณา ที่ ๓๐๘-๓๐๙/๒๕๕๘ พบว่า บริษัท ท. มีหนังสือชี้แจงว่า เป็นบริษัทจ�าหน่าย
                 สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการลูกค้า โดยบริษัทได้รับการรับรองตามหลักมาตรฐานอาหารปลอดภัย จาก
                 กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานมีความจ�าเป็นต้องสัมผัสอาหารโดยตรง จึงอาจเป็นการเสี่ยงต่อ

                 ผู้บริโภค บริษัทจึงมีแนวปฏิบัติต้องตรวจหาเชื้อเอชไอวีส�าหรับพนักงานที่ผ่านการสัมภาษณ์ก่อนเริ่มปฏิบัติงานทุกคน
                 โดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อรักษาหลักมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่ได้รับรองจากกระทรวงสาธารณสุข

                 ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ก�าหนดให้ตรวจร่างกายก่อนเข้าท�าสัญญาจ้างนั้นสอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
                 ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๖ ข. (๒) และกฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยบริษัทมีจุด
                 มุ่งหมายเพื่อความปลอดภัยในคุณภาพและชีวิตของพนักงาน ตลอดจนของลูกค้าผู้ใช้บริการด้วย

                     นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการประชุมด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีมติ (ค�าร้อง
                 ๓๕/๒๕๕๗) ให้ตรวจสอบกรณีบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีนโยบายให้พนักงานตรวจเชื้อ
                 เอชไอวี เป็นเงื่อนไขในการเข้าท�างาน และปฏิเสธรับบุคคลเข้าท�างานหลังจากตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีเชื้อเอชไอวี

                 เช่นกัน โดยฝ่ายบุคคลของบริษัท ซ. เรียกผู้ร้องไปพบและแจ้งว่าไม่มีนโยบายรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าท�างาน และให้
                 ผู้ร้องลงชื่อในใบลาออก ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าการกระท�าดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมโดยการบังคับให้
                 ตรวจเชื้อเอชไอวี และใช้เป็นเงื่อนไขในการรับเข้าท�างาน จึงขอให้ตรวจสอบ







                                                                43
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49