Page 47 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 47
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๙
ค�าร้องที่ ๔๘๖/๒๕๕๖: กรณีนายจ้างน�าข้อมูลประวัติอาชญากรรมมาประกอบการพิจารณา
รับบรรจุเข้าท�างานโดยไม่เป็นธรรม
ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจ�าคุกในคดีลักทรัพย์ และรอลงอาญาไว้ ๒ ปี ต่อมา ผู้ร้องได้
สมัครเข้าเป็นพนักงานขายรถยนต์ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ผู้ร้องได้ปฏิบัติงานผ่านการทดลองงาน ๓ เดือนและถูก
ตรวจประวัติอาชญากรรม ผลตรวจพบว่าผู้ร้องมีประวัติถูกด�าเนินคดีอาญา บริษัทจึงปฏิเสธการบรรจุผู้ร้องเข้าเป็น
พนักงาน ผู้ร้องเห็นว่านายจ้างควรพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานและความประพฤติของผู้ร้องเป็นหลัก ไม่ควรน�า
ทะเบียนประวัติอาชญากรรมในอดีตมาประกอบการพิจารณา ซึ่งเท่ากับไม่ให้โอกาสผู้ที่เคยท�าผิดได้กลับตัวเป็น
คนดีและประกอบอาชีพที่มั่นคง ผู้ร้องมีความประสงค์ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบการกระท�า
อันไม่เป็นธรรมโดยการน�าทะเบียนประวัติอาชญากรรมมาประกอบการพิจารณาบรรจุพนักงาน
ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและการปฏิบัติไม่เป็นธรรม พิจารณาแล้วมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย
คือ การที่บริษัทเอกชนน�าข้อมูลประวัติอาชญากรรมมาประกอบการพิจารณารับบุคคลเข้าท�างานเป็นการกระท�า
หรือละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
คณะอนุกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามค�าร้องผู้ร้องถูกปฏิเสธไม่รับเข้าท�างานเนื่องจากเคยต้องโทษคดีอาญา
ที่ปรากฏในทะเบียนอาชญากรรม จากการพิจารณาตามระเบียบส�านักงานต�ารวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบ
การต�ารวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๑๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นระเบียบใหม่ กรณีของ
ผู้ร้องก็ไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการคัดแยกประวัติออกจากสารบบ และเมื่อพิจารณามาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติล้าง
มลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐
แล้วนั้น กรณีผู้ร้องแม้เป็นผู้ที่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็มีผลแต่เพียงว่า
ผู้ร้องไม่เคยถูกลงโทษในข้อหานั้น ๆ มาก่อนเท่านั้น
เนื่องจากบริษัทเอกชนมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณารับบุคคลเข้าท�างานแตกต่างกันไป โดยคณะ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอแนะเชิงนโยบายไปยังหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้เปิดโอกาสให้บุคคล
ที่เคยรับโทษโดยค�าพิพากษาสามารถใช้สิทธิในการรับสมัครเข้ารับราชการและสามารถกลับตัวเป็นคนดีต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า กรณีตามค�าร้องเป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของบริษัท
เอกชนในการรับสมัครบุคคลเข้าท�างานที่แตกต่างกันโดยพิจารณาเป็นรายกรณี อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในหน่วยงาน
ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจยังมีการพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับสมัครบุคคลเข้าท�างานแตกต่างกันไป โดย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปยังหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจให้เปิดโอกาส
ให้บุคคลที่เคยรับโทษโดยค�าพิพากษาสามารถใช้สิทธิในการรับสมัครเข้ารับราชการและสามารถกลับตัวเป็นคนดี
เพื่อท�าประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมาตรฐานเดียวกันต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สมาคมต่าง ๆ
และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดน�าร่องรับสมัครบุคคลที่เคยต้องโทษคดีถึงที่สุดเข้าท�างาน เพื่อเป็นหลักประกัน
ให้ผู้ประกอบการในการรับบุคคลเคยต้องโทษเข้าท�างาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม จากกรณีบริษัท
เอกชนไม่รับบรรจุบุคคลเข้าท�างานเพราะเหตุมีทะเบียนประวัติอาชญากรรมไม่พบว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หรือเป็นการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด จึงมีมติให้ยุติเรื่อง (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๔๙๕/๒๕๕๘)
46