Page 48 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 48
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
๑๐
ค�าร้องที่ ๑๘๔/๒๕๕๐: กรณีผู้ที่เคยรับโทษให้จ�าคุกถูกจ�ากัดสิทธิในการเข้ารับราชการ
ผู้ร้องเคยถูกด�าเนินคดีเกี่ยวกับยาเสพติดและศาลพิพากษาให้จ�าคุก ๓ ปี ๖ เดือน ปัจจุบันผู้ร้องพ้นโทษเป็น
เวลากว่า ๕ ปี ประกอบอาชีพสุจริต ต้องการจะสอบเข้ารับราชการ แต่ถูกจ�ากัดสิทธิดังกล่าว ผู้ร้องต้องการสอบ
เข้ารับราชการสังกัดรัฐสภา แต่เมื่อโทรศัพท์ไปสอบถามได้รับแจ้งว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิสอบและหากสอบได้คะแนนเต็ม
ก็ไม่สามารถเข้ารับราชการได้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมพิจารณาต่อไป ประเด็นการตรวจสอบ คือ การก�าหนด
ลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการของรัฐสภา ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ กระทบต่อสิทธิของผู้ร้องหรือไม่ อย่างไร
คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้มาตรา ๓๗ ข (๗) จะก�าหนดคุณสมบัติว่าต้องไม่เป็นผู้เคยได้
รับโทษจ�าคุกโดยค�าพิพากษาถึงที่สุดให้จ�าคุก เว้นแต่เป็นโทษส�าหรับความผิดที่กระท�าโดยประมาทหรือความผิด
ลหุโทษ แต่มาตรา ๓๗ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ได้บัญญัติข้อยกเว้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีลักษณะต้องห้าม
ตามข้อ ข (๗) ได้รับการพิจารณายกเว้นคุณสมบัติดังกล่าวได้ ฉะนั้น ผู้ร้องยังอาจได้รับการพิจารณาให้เข้ารับราชการ
ได้ หากคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาพิจารณายกเว้นโดยต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจ�านวน
กรรมการที่มาประชุม คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นว่าผู้ร้องยังไม่ถูกกระทบสิทธิในเรื่องการไม่สามารถเข้ารับราชการ
รัฐสภา เพราะเคยต้องค�าพิพากษาถึงที่สุดให้จ�าคุก ตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๔๓/๒๕๕๕)
๑๑
ค�าร้องที่ ๒๒๙/๒๕๕๕: กรณีโรงเรียนไม่ออกเอกสารแสดงผลการจบหลักสูตรให้กับนักเรียน
โดยอ้างว่าไม่จ่ายค่าบ�ารุงการศึกษา
ผู้ร้องเป็นนายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ ได้ร้องเรียนว่าโรงเรียน ส. ไม่ออกเอกสารใบแสดงผลการ
เรียน และหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยอ้างว่านักเรียนยังค้างค่าบ�ารุงการ
ศึกษา และโรงเรียนยังมีพฤติกรรมใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักประกันเพื่อเรียกเก็บเงินค่าบ�ารุงการศึกษาย้อนหลัง
จากนักเรียนบ่อยครั้ง ท�าให้นักเรียนหลายรายต้องเสียสิทธิและโอกาสในการเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอื่น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาเห็นว่าเป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพในการศึกษา อัน
เป็นสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับรองหรือคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็น
กรณีเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและอยู่ในอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาตามมติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล แล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
(ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น) ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ในเรื่องสิทธิ
47