Page 43 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 43

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ



                                                         ๕

               ค�าร้องที่ ๑๒๔/๒๕๕๔: กรณีผู้ร้องอ้างว่าถูกห้ามไม่ให้แต่งกายตามหลักศาสนา


               ผู้ร้องนับถือศาสนาอิสลาม จบการศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง และต้องท�างาน
           ที่โรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัยเป็นเวลา ๒ ปี ตามที่ได้ท�าสัญญาไว้กับมหาวิทยาลัย แต่โรงพยาบาลห้าม

           ไม่ให้ผู้ร้องคลุมฮิญาบและแต่งกายปกปิดร่างกายขณะท�างาน ซึ่งข้อห้ามดังกล่าวขัดกับหลักศาสนาอิสลาม
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องแล้วเห็นว่าเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเป็นประเด็นเกี่ยวกับ

           สิทธิเสรีภาพของบุคคลอันเป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการรับรองคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
           พุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงเป็นกรณีที่อยู่ในอ�านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และได้มอบหมาย
           ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคลพิจารณา โดย

           อาศัยอ�านาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ พระราชบัญญัติคณะกรรมการ
           สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๑๕ และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
           ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕

                 คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าโรงพยาบาลได้มีระเบียบเครื่องแต่งกายของเจ้าหน้าที่ฝ่าย
           การพยาบาลฯ ตามประกาศฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาล เรื่อง ระเบียบเครื่องแต่งกาย แต่ในกรณีการปฏิบัติงาน
           ของพยาบาลที่เป็นมุสลิม ฝ่ายการพยาบาลฯ ยังไม่มีระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในเรื่องการแต่งกายเป็นการ

           เฉพาะ
                 กระทรวงสาธารณสุขมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้าน

           สาธารณสุข ๓ ฉบับ ได้แก่ ๑.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการแต่งกายของแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร
           พ.ศ. ๒๕๔๒ ๒.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแต่งกายของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลและการ
           ผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ ๓.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแต่งกายของพนักงานผู้ช่วยกายภาพบ�าบัด

           พ.ศ. ๒๕๔๒ และได้มีการแจ้งเวียนแก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การแต่งกายของเจ้าหน้าที่เป็นไปตามประกาศของ
           กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขอให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว โดยเฉพาะกรณีผู้นับถือศาสนาอิสลามที่

           อนุญาตให้แต่งเครื่องแบบตามประกาศของกระทรวงฯ และให้ใช้ผ้าคลุมฮิญาบตามระเบียบของกระทรวงฯ และแจ้ง
           เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
                 นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ก. ว่าคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ม. โรงพยาบาล ศ. อนุญาต

           ให้นักศึกษาพยาบาลที่นับถือศาสนาอิสลามแต่งกายตามหลักศาสนาโดยแต่งชุดคลุมศีรษะ (ฮิญาบ) ขณะฝึกปฏิบัติ
           บนหอผู้ป่วยได้ ตามหนังสือคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ม.เรื่องอนุญาตให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์แต่งชุด
           คลุมศีรษะ (ฮิญาบ) ขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย

                 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาค�าร้องและความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ แล้ว
           เห็นว่า สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้รับรองว่า
           บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระท�าการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรไว้

           เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ
           หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อแตกต่างจากบุคคลอื่น ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ม. ได้

           มีหนังสืออนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งในขณะศึกษาอยู่ได้แต่งกายตามหลักศาสนาอิสลามขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย เมื่อวันที่







                                                         42
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48