Page 42 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 42
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
๔
ค�าร้องที่ ๔๕/๒๕๕๕: กรณีบริษัทเอกชนค้นตัวพนักงานหญิง
ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้สั่งให้พนักงานซึ่งมีเครื่องตรวจสแกน ท�าการตรวจค้นร่างกาย
พนักงานหญิงช่างขัด-ชุบจิวเวลรี่ จ�านวน ๔ คน เนื่องจากมีเหตุสงสัยว่าทรัพย์สินของบริษัทสูญหาย โดยตรวจค้น
เป็นรายบุคคลในห้องน�้า พนักงานถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด และท�าการตรวจค้นโดยละเอียด เป็นเหตุให้
ได้รับความอับอาย ผลการตรวจค้นดังกล่าวไม่พบว่ามีพนักงานคนใดขโมยทรัพย์สินของทางบริษัทตามเหตุที่สงสัยแต่
อย่างใด ผู้ร้องเห็นว่าการกระท�าดังกล่าวของทางบริษัท เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพนักงาน ขอให้ตรวจสอบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องแล้ว เห็นว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิสตรีเกี่ยวเนื่อง
กับสิทธิของบุคคลในเกียรติยศ ชื่อเสียง อันเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็นกรณีที่อยู่ในอ�านาจของคณะกรรมการฯ ที่จะตรวจสอบได้ โดยอาศัยอ�านาจตาม
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๑๕
คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล ได้ท�าการ
ตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังนี้ (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๑๙๖/๒๕๕๖)
๑) พบว่าพนักงานในแผนกขัด-ชุบ จิวเวลรี่ ของบริษัท เป็นหญิงล้วน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาพนักงานเคยถูกตรวจ
ค้นร่างกายดังกล่าวมาแล้ว ๒ ครั้ง คือ ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๕๕ และในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ผู้ตรวจค้น
เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นพนักงานหญิง โดยในการตรวจเมื่อช่วงเดือนมกราคมมีพนักงานบางราย
ถูกท�าร้ายร่างกายจึงลาออกจากการเป็นพนักงาน และแจ้งความด�าเนินคดีกับบริษัททั้งทางแพ่งและทางอาญาด้วย
ผู้ร้องแจ้งว่าสาเหตุการตรวจค้นดังกล่าว เพราะบริษัทเกรงว่าพนักงานจะขโมยทรัพย์สินของบริษัท อีกทั้งผู้ร้อง
ไม่กล้าแสดงตนให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพราะเกรงจะกระทบกับสถานภาพการท�างาน แต่
ได้ประสานให้อดีตพนักงานที่ลาออกไปมาให้ข้อมูล
๒) ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี
และความเสมอภาคของบุคคล ได้โทรศัพท์ประสานไปยังผู้ร้องและทราบข้อมูลว่าอดีตพนักงานที่ลาออกไปได้ฟ้อง
ร้องทางบริษัท และศาลได้มีค�าพิพากษาให้ทางบริษัทชดใช้ค่าเสียหาย และภายหลังจากศาลมีค�าพิพากษาทางบริษัท
ก็ไม่ได้ท�าการตรวจค้นร่างกายพนักงานอีก ผู้ร้องจึงแจ้งด้วยวาจาขอยุติการตรวจสอบ
คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล และคณะ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่ากรณีตามที่ร้องเรียนข้างต้น ผู้ถูกร้องได้ยุติการตรวจค้นร่างกายพนักงานแล้ว
อันเนื่องมาจากมีผู้เสียหายฟ้องร้องด�าเนินคดีจนศาลมีค�าพิพากษาให้ผู้ถูกร้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ประกอบกับ
ผู้ร้องได้ขอยุติเรื่อง จึงเห็นควรยุติเรื่อง
41