Page 41 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 41
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๓
ค�าร้องที่ ๗๒/๒๕๕๔: กรณีคนพิการไม่ได้รับสิทธิให้เข้าท�าประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน
ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นคนพิการทางสายตา ต่อมา ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม แต่เจ้าของเดิมยังไม่ได้ด�าเนินการขอเอกสารสิทธิให้เข้าท�าประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ผู้ร้อง
จึงไปด�าเนินการเพื่อขอออกเอกสารสิทธิ โดยเจ้าหน้าที่ส�านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดตราดแจ้งว่าไม่สามารถใช้ชื่อ
ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดิน ส.ป.ก. ได้ เนื่องจากระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕
ก�าหนดไว้ว่า ผู้ที่มีสิทธิเข้าท�าประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. จะต้องเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ผู้ร้องเห็นว่า ตนสามารถท�าการ
เกษตรได้ ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบที่จ�ากัดสิทธิ
คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม พิจารณา
ข้อเท็จจริงประกอบหลักกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ พระ
ราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๐ รวมทั้ง
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๒ (๑) และข้อ ๗ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมือง ข้อ ๒๖ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ข้อ ๒ และ ข้อ ๕ แล้วเห็นว่า ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ (๔) ก�าหนดไว้ว่า ว่าผู้ที่มีสิทธิเข้าท�าประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. จะต้องเป็น
ผู้มีร่างกายสมบูรณ์ โดยเจ้าหน้าที่ส�านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดตราดตีความหมายรวมถึงคนพิการทุกประเภท
ซึ่งกำรตีควำมดังกล่ำวเป็นกำรตีควำมอย่ำงแคบ ท�ำให้ผู้ร้องถูกจ�ำกัดสิทธิและเสียสิทธิในการเข้าท�าประโยชน์
ในเขตปฏิรูปที่ดิน ทั้งที่ผู้ร้องยังมิได้มีการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา เนื่องจากในการประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม บุคคลที่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ ควรพิจารณาในเรื่องของความสามารถในการประกอบ
อาชีพเป็นหลักมากกว่าการพิจารณาจากสภาพร่างกายของบุคคล โดยกรณีที่คนพิการที่เป็นเกษตรกร ถึงแม้ว่าจะ
มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางด้านร่างกาย แต่หากยังมีความสามารถในการประกอบเกษตรกรรมได้ และเป็น
เกษตรกรตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ
คัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนั้น ในการให้ค�าจ�ากัด
ความตามระเบียบดังกล่าวข้อ ๖ (๔) ค�าว่า “มีร่างกายสมบูรณ์” ควรมีการก�าหนดความหมายและแนวทางปฏิบัติ
ที่ชัดเจน เพื่อมิให้เป็นการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการตีความข้อกฎหมายและท�าให้เกิดการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อส�านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการ
เกษตรกรรมว่า สมควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือพิจารณาทบทวนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ (๔) เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ มาตรา ๑๕
และมาตรา ๒๐ รวมทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๒ (๑) และข้อ ๗ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๒๖ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ข้อ ๒ และ ข้อ ๕ ในการไม่เลือกปฏิบัติต่อ
บุคคลเพราะเหตุแห่งความพิการ (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๒/๒๕๕๕)
40