Page 14 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 14
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
สินค้า บริการ ซึ่งมีการปฏิเสธสินค้าหรือการให้บริการด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่กฎหมายเฉพาะดังกล่าวในตาราง
ข้างต้นไม่ครอบคลุมถึง เช่น การปฏิเสธไม่จ�าหน่ายสินค้าหรือไม่ให้บริการบุคคลด้วยเหตุเชื้อชาติ ศาสนา หรือกรณีเหตุ
แห่ง “ความคิดเห็นอื่นหรือความเชื่อ” หรือจากการสัมภาษณ์มีผู้ให้ข้อมูลว่า “ร้านนวดบางแห่งไม่ให้บริการแก่คนไทย
ให้บริการเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน /เกาหลี เท่านั้น” “ร้านอาหารบางแห่งเปิดให้บริการเฉพาะทัวร์จีนเท่านั้น ลูกค้าคนไทย
ไม่ต้อนรับ” “บริการขนส่ง รถแท็กซี่ ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารคนไทย โดยให้บริการเฉพาะชาวต่างชาติ” “รถสามล้อ
ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารคนไทย” กรณีนี้จะเห็นได้ว่า เป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่ง “เชื้อชาติ หรือสัญชาติ” ในมิติ
3
ของการให้บริการ ซึ่งไม่มีกฎหมายคุ้มครองเป็นการเฉพาะ เนื่องจากไม่มีกฎหมายกลางที่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติ
ซึ่งจะมาปรับใช้ส�าหรับมิติเช่นนี้
• กรณีการสื่อสารที่ท�าให้เกิดความเกลียดชังด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ (Hate Speech) ดังเช่น
กรณีข้อเท็จจริงจากผู้ให้สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม เช่น มัคคุเทศก์ชาวไทย ผู้ให้ข้อมูล เห็นว่า “รู้สึกไม่ดีต่อมัคคุเทศก์
ชาวจีนที่มาแย่งงาน หรือผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยเห็นว่า ชาวเวียดนามเข้ามาแย่งอาชีพขายสินค้า กรณีทัศนคติ
เหล่านี้น�าไปสู่การกล่าววาจาอันเป็นการคุกคาม (Harassment) ด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติได้ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ
ส�าหรับพฤติกรรมดังกล่าว
• การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ในกรณีที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน โดยเฉพาะการคุกคาม
ระหว่างลูกจ้างด้วยกัน และการคุกคามในลักษณะการสร้างบรรยากาศในที่ท�างาน (Hostile Working Environment)
ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมเป็นการเฉพาะ
• การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับมิติการจ้างแรงงาน เช่น ในมิติ
การศึกษา ดังจะเห็นได้จากกรณีตามค�าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มีการอ้างว่าถูกคุกคามทางเพศ
ในโรงเรียน เป็นต้น ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมเป็นการเฉพาะ
• การคุกคาม (Harassment) ในบริบทอื่นนอกจากการจ้างแรงงาน และในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเหตุอื่น
นอกจากการคุกคามทางเพศ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ความพิการ ฯลฯ ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมเป็นการเฉพาะ
เช่น ค�าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผู้ร้องอ้างว่า “ครูประจ�าชั้นที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง
กล่าวหาว่า นางสาวเอ เป็นโรคขาดผู้ชายไม่ได้ ต้องน�าไปบ�าบัด มีฮอร์โมนผิดปกติเพราะเป็นผู้พิการ” (ค�าร้องที่
๔๗๖/๒๕๕๖) เป็นต้น หรือจากกรณีการสัมภาษณ์ที่ผู้ให้ข้อมูลถูกล้อเลียนเกี่ยวกับสภาพร่างกายจากเพื่อนร่วมงาน
โดยการล้อเลียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร เปรียบเทียบร่างกาย (รูปร่างอ้วน) กับสัตว์ชนิด
ต่าง ๆ ส่งตัวการ์ตูนสติกเกอร์รูปสัตว์อ้วนรูปแบบต่าง ๆ มาล้อเลียนในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการท�างาน กรณีเช่นนี้
มีลักษณะเป็นการคุกคาม (Harassment) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุทางเพศ และไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่
จะครอบคลุมถึง
• เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางกรณียังอาจไม่ครอบคลุมดังที่ได้สรุปไว้แล้วข้างต้น เช่น “ความคิดเห็น
อื่นใด” ที่กว้างกว่าความคิดเห็นทางการเมือง และ “ความเชื่อ” ที่กว้างและไม่ผูกพันกับ “ศาสนา” หรือในบางเหตุยัง
ต้องมีการตีความ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส�าหรับเหตุ “การตั้งครรภ์” อาจจัดอยู่ในเหตุแห่ง “เพศ” ได้ แต่ยังมีปัญหา
ในแง่กฎหมายที่เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติในมิตินี้ โดยอาจมีกฎหมายบางฉบับที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครอง
แรงงาน แต่ยังไม่ครอบคลุมมิติอื่น เช่น การให้บริการต่าง ๆ ของภาคเอกชน นอกจากนี้ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
3 Henry Campbell Black, Black’s law Dictionary (1979) Boston: West Publishing, p. 420
13