Page 9 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 9
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
ในด้านสินค้าและบริการ การเลือกปฏิบัติในมิติของบริการภาครัฐกรณีการศึกษา กรณีการให้นมบุตรจากอกแม่
(Breastfeeding) การเลือกปฏิบัติในกรณีการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) การคุกคาม (Harassment) ใน
ความหมายที่กว้างกว่าการคุกคามทางเพศ การสื่อสารที่ท�าให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) การเลือกปฏิบัติด้าน
สินค้าและบริการต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุตาบอดสี กรณีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอัตลักษณ์ทางเพศ
(Gender Identity) กับการเข้าห้องน�้า การเลือกปฏิบัติในมิติเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร กรณีการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับ
สินค้าหรือบริการส�าหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น
ผลการวิจัย ที่ส�าคัญสรุปได้ดังนี้
หลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน (Equality Principle)
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างของรัฐธรรมนูญไทยและต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการวางหลัก
ความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน อาจจ�าแนกรูปแบบและโครงสร้างของรัฐธรรมนูญในการบัญญัติหลักความ
เท่าเทียมกันได้ ๓ รูปแบบ ดังนี้
• รูปแบบแรก ก�าหนดจ�าแนกหลักความเท่าเทียมกัน ออกเป็น ๓ กรณี คือ ความเสมอภาคหรือความ
เท่าเทียมกันทั่วไป ความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง และหลักห้ามเลือกปฏิบัติ เช่น เยอรมัน ไทย ฟินแลนด์
• รูปแบบที่สอง ก�าหนดจ�าแนกหลักความเท่าเทียมกัน ออกเป็น ๒ กรณี คือ ความเสมอภาคหรือความ
เท่าเทียมกัน และหลักการห้ามเลือกปฏิบัติ โดยมิได้จ�าแนกความเสมอภาคเฉพาะเรื่องออกจากความ
เสมอภาคทั่วไป
• รูปแบบที่สาม ไม่ระบุถึงหลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมไว้ โดยมีเพียงก�าหนดหลักการ
“ห้ามเลือกปฏิบัติ” เช่น สวีเดน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (Unfair / Unjust Discrimination)
ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายเฉพาะของไทยหลายฉบับ ได้มีการใช้ค�าว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่
เป็นธรรม” ซึ่งท�าให้เกิดประเด็นปัญหาว่า การใช้ค�าดังกล่าวสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศเพียงใด และ
กฎหมายต่างประเทศมีรูปแบบการก�าหนดถ้อยค�าดังกล่าวอย่างไร จากการศึกษากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
และกฎหมายต่างประเทศ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในการบัญญัติห้ามการเลือกปฏิบัตินี้ มีรูปแบบการบัญญัติกฎหมาย
และการใช้ถ้อยค�าที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์และหลักการเช่นเดียวกัน คือ การจ�าแนกระหว่าง “การกระท�าที่
ต้องห้ามตามกฎหมาย” และ “การกระท�าที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย” ซึ่งอาจจ�าแนกออกเป็นรูปแบบการบัญญัติกฎหมาย
๔ ลักษณะ ดังนี้
๑. ก�าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม”
(Unfair Discrimination) และก�าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่มีเหตุผลอันสมควรตามที่กฎหมายก�าหนดว่า
“การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม” ดังเช่นกรณีกฎหมายแอฟริกาใต้
8