Page 12 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 12

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ





                        (๑) กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิในความเป็นอยู่
               ส่วนตัว เช่น กรณีการน�าร่างของผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์มาจัดแสดง การค้นตัวบุคคลโดยภาคเอกชนในธุรกิจหรือการ
               จ้างแรงงาน

                        (๒) กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติกับการละเมิดเสรีภาพในทางศาสนา กรณีปัญหา
               ลักษณะนี้ มีตัวอย่างเช่น ระเบียบในสถานที่ท�างานหรือสถานศึกษาเกี่ยวกับการแต่งกายตามศาสนา
                        (๓) กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางการศึกษา เช่น การปฏิบัติ

               ต่อนักเรียน นักศึกษา ที่แตกต่างกัน โดยบางกรณีก็ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน
               เช่น กรณีเหตุแห่งการพักการเรียนเกี่ยวข้องกับ “พฤติกรรม” แต่กระทบสิทธิด้านการศึกษาของนักเรียน

                        (๔) กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม
               เช่น ผู้ร้องอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการด�าเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
                        อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปฏิบัติที่พิพาทดังกล่าวจะไม่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการ

               ห้ามเลือกปฏิบัติ  แต่ก็ยังสามารถอยู่ในขอบเขตอ�านาจการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้
               เพราะอาจเป็นการกระทบ “สิทธิมนุษยชน” ในแง่อื่น “ที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง
                                                                                                          2
               ราชอาณาจักรไทย  หรือตามกฎหมายไทย  หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม”   เช่น
               การปฏิบัติที่แตกต่างกันอันกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนา การปฏิบัติที่กระทบต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์
               สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในการสื่อสาร เป็นต้น



                        กรณีที่สาม “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ในบริบทของกฎหมายปกครอง
                        ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ค�าพิพากษาศาลปกครองชี้ให้เห็นว่า  การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม  ในบริบท

               ของคดีปกครอง (มาตรา ๙ ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒) นั้น มี
               ขอบเขตและลักษณะที่แตกต่างจาก “การเลือกปฏิบัติ” ในบริบทของกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ “การเลือก
               ปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ตามกฎหมายปกครองนั้น เป็นการพิจารณา “การปฏิบัติที่แตกต่างกัน” ในกรอบของการตรวจ

               สอบการใช้อ�านาจรัฐโดยมิชอบ และมักมีข้อเท็จจริงที่สัมพันธ์กับ “การใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยมิชอบ” จึงอาจ
               ครอบคลุมถึงการปฏิบัติแตกต่างกันโดยไม่เป็นธรรม การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการ

               เลือกปฏิบัติ เช่น เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฯลฯ ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน หรืออาจเรียกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติใน
               ความหมายที่กว้างกว่ากฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดและหลักการของกฎหมายปกครองอันควรมี
               การศึกษาและพิจารณาแยกอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ในบริบทของกฎหมายสิทธิ

               มนุษยชน
                        จากผลการวิจัยดังกล่าว ท�าให้สามารถจ�าแนกความแตกต่างของ “การเลือกปฏิบัติ” ในบริบทต่าง ๆ และ

               สามารถจ�าแนกว่ากรณีใดอยู่ในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะน�าไปสู่การศึกษาต่อไปของการวิจัยนี้ว่า การเลือก
               ปฏิบัติในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้นกฎหมายปัจจุบันครอบคลุมถึงหรือไม่ เพียงใด






                      2   From “Private Discrimination: A Prioritarian, Desert-Accommodating Account”, by Kasper Lippert-

               Rasmussen (2006), San Diego Law Review, 43, p. 817–856




                                                              11
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17