Page 13 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 13

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ





                  การเลือกปฏิบัติที่กฎหมายไทยยังไม่ครอบคลุมถึง


                  ผลการวิจัยข้างต้นชี้ให้เห็นว่า กรณีที่มีการกล่าวอ้างและมีการพิจารณาว่าเป็น “การเลือกปฏิบัติ” นั้น หลาย

          กรณีไม่จัดเป็นการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะต้องพิจารณาในบริบทกฎหมายอื่นต่อไป อย่างไรก็ตาม
          ส�าหรับประเด็นที่ว่า  การปฏิบัติแตกต่างกันอันจัดอยู่ในขอบเขตของ  “การเลือกปฏิบัติ”  ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน
          นั้น กฎหมายไทยปัจจุบันมีขอบเขตครอบคลุมกรณีเหล่านั้นเพียงใด ผลการวิจัยสรุปจ�าแนกได้ ดังนี้



                  (๑) ผลการวิเคราะห์ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ”

                      การเลือกปฏิบัติในขอบเขตของการวิจัยนี้เป็นการพิจารณาในกรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชน ดังนั้น
          องค์ประกอบส�าคัญที่ท�าให้การปฏิบัติอันแตกต่าง  (Distinction  หรือ  Differentiation)  ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
          (Discrimination) คือ การปฏิบัติอันแตกต่างนั้นต้องสืบเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ (Discrimination

          Grounds) ซึ่งเหตุดังกล่าวมีการระบุไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาวิเคราะห์
          กฎหมายดังกล่าวเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย อาจจ�าแนกสรุปได้ ๔ กรณี ดังนี้

                      • กรณีที่หนึ่ง เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่รัฐธรรมนูญของไทยก�าหนดในลักษณะที่กว้างกว่าหรือเพิ่มเติม
                            จากที่กฎหมายระหว่างประเทศระบุไว้
                      • กรณีที่สอง เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่รัฐธรรมนูญของไทยมีการใช้ถ้อยค�าในลักษณะที่แคบกว่า

                           กฎหมายระหว่างประเทศ
                      • กรณีที่สาม เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางกรณีกฎหมายต่างประเทศได้ขยายความจากเหตุดั้งเดิม
                           ที่ระบุไว้ โดยมีการแจกแจงรายละเอียดเพื่อความครอบคลุมและชัดเจน

                      • กรณีที่สี่  เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางเหตุมิได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
                           ประเทศ  แต่กฎหมายต่างประเทศบางประเทศก�าหนดครอบคลุมขึ้นมา  เพื่อเป็นการคุ้มครองการเลือก
                           ปฏิบัติในปัจจุบันที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะทางสังคม



                  (๒) ขอบเขตและการครอบคลุมของกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติ

                      ปัจจุบันไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะอันมีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติที่
          ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ และมิติของการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ โดยกฎหมายไทยที่เป็นอยู่ มีลักษณะเป็น
          กฎหมายเฉพาะที่มีขอบเขตจ�ากัดในเชิงเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ  และ/หรือ  มิติของการเลือกปฏิบัติ  เช่น  ครอบคลุม

          เฉพาะบางเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น เหตุแห่งเพศ เหตุแห่งอายุ หรือครอบคลุมเฉพาะบางมิติของการเลือกปฏิบัติ
          เช่น มิติด้านแรงงาน มิติด้านการศึกษา เป็นต้น แต่ยังไม่ครอบคลุมกรณีต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติภายใต้

          กรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและการเลือกปฏิบัติที่กฎหมายต่างประเทศให้การคุ้มครอง  โดยเฉพาะ
          อย่างยิ่ง การเลือกปฏิบัติในมิติและเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติอื่น ๆ นอกขอบเขตของกฎหมายเฉพาะดังกล่าว เช่น
                      • การเลือกปฏิบัติในภาคเอกชน เช่น การกระท�าในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง หรือการเลือก

          ปฏิบัติในบริบทอื่น เช่น การปฏิเสธการให้บริการหรือการจ�าหน่ายสินค้า การจ�ากัดสิทธิในการเข้าถึงบริการหรือสถานที่
          ของภาคเอกชนต่าง ๆ หากเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติแล้วก็จัดอยู่ในขอบเขตของการเลือกปฏิบัติได้ จาก
          การศึกษากฎหมายไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีปัญหากรณีการเลือกปฏิบัติในภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อ






                                                          12
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18