Page 18 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 18
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
กฎหมายว่า “การปฏิบัติที่แตกต่างกัน” (Differentiation หรือ Differential Treatment) โดยไม่น�าองค์ประกอบ
“เป็นธรรม” (Fair) มาใช้ในการจ�าแนกระหว่างการปฏิบัติทั้งสองอย่างดังกล่าว
ประการที่สี่ การบัญญัติหลักการเกี่ยวกับ“เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ”
จากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ ในประเด็นของเหตุแห่งการ
เลือกปฏิบัติ เปรียบเทียบกับกฎหมายไทย พบว่ายังมีปัญหาการระบุเหตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติตาม
รัฐธรรมนูญ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
• เพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางประการให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศ เช่น ก�าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติให้ครอบคลุม “ความคิดเห็นอื่นใด” นอกเหนือจาก “ความคิดเห็น
ทางการเมือง” รวมทั้งก�าหนดเหตุครอบคลุม “ความเชื่ออื่น” นอกจากความเชื่อทาง “ศาสนา”
• เพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางประการให้ครอบคลุมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ตามแนวทางของ
กฎหมายต่างประเทศ เช่น ประวัติอาชญากรรม การให้นมบุตรจากอกแม่ รวมทั้งก�าหนดแจกแจงเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติบางกรณีให้ชัดเจนขึ้น เช่น เหตุแห่ง “เพศ” นั้น เสนอว่าตามกฎหมายหลักเช่นรัฐธรรมนูญควรระบุรายละเอียด
เช่น รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ส�าหรับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางอย่าง ซึ่งไม่ได้มีการระบุไว้ชัดแจ้งตามรัฐธรรมนูญ เช่น
ประวัติอาชญากรรม ผู้ติดเชื้อเอชไอวี การให้นมบุตรจากอกแม่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในแง่หนึ่ง หากพิจารณากฎหมาย
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่า เหตุบางเหตุ เช่น การให้นมบุตรจากอกแม่ เอชไอวี ประวัติอาชญากรรม
มิได้ปรากฏอยู่ในเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่ไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม แต่ในอีกแง่หนึ่งนั้น อาจพิจารณาได้ว่าเหตุ
ดังกล่าวมีความส�าคัญและการน�าเหตุดังกล่าวมาปฏิบัติต่อบุคคลแตกต่างกันนั้นส่งผลกระทบต่อสิทธิพื้นฐานของบุคคล
ในด้านต่าง ๆ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้บริการต่าง ๆ ดังนั้น ก็ควรมีการคุ้มครองความเท่าเทียมกันของบุคคลที่
อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย จึงมีข้อเสนอแนะ ๒ แนวทาง ดังนี้
• แนวทางแรก ไม่ก�าหนดหรือระบุเหตุเหล่านี้เป็นเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติไว้อย่างชัดแจ้งในกฎหมาย แต่
ใช้วิธีการตีความ ให้อยู่ในเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น ตีความประวัติอาชญากรรมว่าอยู่ในเหตุ “สถานะของบุคคล”
ตีความผู้ติดเชื้อเอชไอวีว่าอยู่ในเหตุ “สุขภาพ” ส�าหรับการให้นมบุตรจากอกแม่ ตีความว่าอยู่ในเหตุ “เพศ” เป็นต้น
• แนวทางที่สอง เสนอให้มีการบัญญัติเพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางอย่างเหล่านี้ไว้ให้ชัดเจนใน
กฎหมาย เช่น เพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งอาจจ�าต้องมีการตรากฎหมายล�าดับรอง
เป็นการเฉพาะส�าหรับการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุเหล่านี้ เช่น แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยการเลือก
ปฏิบัติด้วยเหตุดังกล่าว
(๓) ข้อเสนอในการต่อยอดการวิจัย
จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาของกฎหมายไทยปัจจุบันซึ่งยังไม่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติ
ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงน�าไปสู่ข้อเสนอแนะในการบัญญัติกฎหมายกลาง อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของงานวิจัยนี้
ยังไม่ครอบคลุมถึงการน�าเสนอร่างกฎหมายกลางดังกล่าวในรายละเอียด จึงควรมีการศึกษาวิเคราะห์จัดท�าร่าง
กฎหมายกลางเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติเพื่อด�าเนินการรับฟังความคิดเห็นและเข้าสู่กระบวนการเสนอกฎหมายตาม
ล�าดับต่อไป
17