Page 17 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 17

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ





          แนวทางของสวีเดนในการปรับปรุงกฎหมายเลือกปฏิบัติ โดยแนวทางนี้จะท�าให้ไทยปรับเปลี่ยนจากรูปแบบที่สองไปเป็น
          รูปแบบแรก
                      • แนวทางที่สอง เสนอให้ไทยปรับโครงสร้างกฎหมายไปอยู่ในรูปแบบที่สาม กล่าวคือ เพิ่มเติม

          กฎหมายกลาง โดยที่ยังคงกฎหมายเฉพาะฉบับต่าง ๆ ไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายกลางสามารถครอบคลุมการเลือกปฏิบัติ
          อื่น ๆ ที่อยู่นอกขอบเขตของกฎหมายเฉพาะดังกล่าวนั่นเอง


                  (๒) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
                      แม้ว่าหลักของรัฐธรรมนูญจะรับรองถึงความเท่าเทียมกันและห้ามเลือกปฏิบัติ แต่ก็ยังคงมีปัญหาถึง

          ความชัดเจนในการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน และปัญหาอื่น ๆ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ
          ๓ ประการ ดังนี้
                      ประการแรก การบัญญัติหลักการเลือกปฏิบัติภาครัฐและภาคเอกชน

                      ผู้วิจัยมีข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการเลือกปฏิบัติ  โดยวางหลักรับรองความ
          เท่าเทียมกันและห้ามเลือกปฏิบัติทั่วไป โดยแยกการเลือกปฏิบัติออกเป็นการกระท�าของรัฐ และเอกชน

                      ในส่วนภาครัฐนั้น  เสนอให้มีหลักการว่า  “รัฐจะต้องไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมทั้งโดยตรงและ
          โดยอ้อมต่อบุคคล ด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงเชื้อชาติ เพศ การตั้งครรภ์ สถานะความเป็นมารดา ชาติก�าเนิด
          สีผิว รสนิยมทางเพศ อายุ ความพิการ ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา และถิ่นก�าเนิด…”

                      ในส่วนของภาคเอกชนนั้น เสนอให้มีหลักการว่า “บุคคลจะต้องไม่กระท�าการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
          ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อบุคคลอื่นด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ ... ในการนี้ รัฐต้องมีกฎหมายเพื่อป้องกันและ
          ห้ามการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว”



                      ประการที่สอง การบัญญัติหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอ้อม
                      ในส่วนของหลักการเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัตินั้น มีข้อเสนอว่า “การเลือกปฏิบัติโดยอ้อม” ปรากฏอยู่ใน

          ข้อเท็จจริง สภาพค�าร้อง และค�าพิพากษา หลายกรณี แต่มิได้มีการน�าหลักนี้มาอธิบายไว้อย่างชัดเจน กฎหมายเฉพาะ
          บางฉบับสะท้อนหลักการนี้ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีหลักการห้าม

          เลือกปฏิบัติที่มุ่งเน้นที่ผลกระทบ  (Effect)  ซึ่งท�าให้คนพิการเสียสิทธิประโยชน์  อันเป็นแนวคิดของการห้ามเลือก
          ปฏิบัติโดยอ้อม ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ ๒ แนวทาง ดังนี้
                      • แนวทางแรก แก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมหลักการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมให้ชัดเจน โดยอาจจ�าแนกออกจาก

          การเลือกปฏิบัติโดยตรง ดังเช่นกรณีแอฟริกาใต้
                      • แนวทางที่สอง เสนอให้องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

          น�าหลักการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมมาอธิบายประกอบการพิจารณา กรณีที่มีสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ
          โดยอ้อม



                      ประการที่สาม ก�าหนดถ้อยค�าเกี่ยวกับ “การเลือกปฏิบัติ” โดยเสนอให้ก�าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตก
          ต่างกัน อันต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การเลือกปฏิบัติ” (Discrimination) และก�าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
          แต่มีเหตุผลอันสมควรตามที่กฎหมายก�าหนด หรือไม่เข้าองค์ประกอบเงื่อนไขของการเลือกปฏิบัติที่ต้องห้ามตาม






                                                          16
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22