Page 15 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 15
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
บางอย่าง กฎหมายต่างประเทศก�าหนดไว้โดยเฉพาะ แต่ส�าหรับประเทศไทยยังไม่มีการก�าหนดเฉพาะ เช่น ประวัติการ
กระท�าความผิดทางอาญา เป็นต้น ซึ่งแม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่พบว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หรือเป็นการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม เหตุนี้อาจยังเป็นที่ถกเถียงและมีประเด็นเกี่ยวกับหลักคุณสมบัติความจ�าเป็น
ส�าหรับงานนั้นด้วย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในขอบเขตของกฎหมาย
สิทธิมนุษยชน เนื่องจากขาดกฎหมายกลางที่จะใช้กับกรณีที่นอกเหนือจากขอบเขตของกฎหมายเฉพาะดังกล่าว อันจะ
น�าไปสู่ข้อเสนอแนะต่อไป
(๓) รูปแบบการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ (Model of Discrimination Laws)
ผลการศึกษาวิเคราะห์หลักกฎหมายต่างประเทศ พบว่า มีรูปแบบการบัญญัติกฎหมายที่แตกต่างกัน
ในการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติ ผู้วิจัยจึงได้ท�าการจ�าแนกตัวแบบ (Model)
ของการก�าหนดกฎหมาย โดยพิจารณาจากปัจจัยส�าคัญ ๒ ประการ ได้แก่ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ (Grounds of
Discrimination) และมิติของการเลือกปฏิบัติ (Area of Discrimination) ซึ่งอาจจ�าแนกได้ ๓ รูปแบบหลัก ดังนี้
รูปแบบที่ ๑ บัญญัติกฎหมายเฉพาะฉบับเดียวเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติ ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมาย
กลาง กล่าวคือ ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติหลายเหตุ และครอบคลุมมิติของการเลือกปฏิบัติหลายมิติ เช่น การ
ตรากฎหมายสิทธิมนุษยชน วางหลักห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ อายุ เชื้อชาติ สีผิว โดยครอบคลุมการเลือก
ปฏิบัติในมิติการจ้างแรงงาน การศึกษา การได้รับบริการและสินค้า
รูปแบบที่ ๒ บัญญัติกฎหมายเฉพาะหลายฉบับ แต่ละฉบับครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเฉพาะ
บางเหตุ และครอบคลุมมิติของการเลือกปฏิบัติเฉพาะบางมิติ ส�าหรับในรูปแบบนี้ ยังอาจจ�าแนกพิจารณาได้ ๓ กรณี
ย่อย ได้แก่
• กรณีแรก กฎหมายที่คุ้มครองเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเพียงเหตุเดียว และครอบคลุมมิติของการเลือก
ปฏิบัติเพียงมิติเดียว เช่น กฎหมายคุ้มครองการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในการศึกษา กฎหมายลักษณะนี้
จะครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเฉพาะเหตุด้านความพิการ และครอบคลุมมิติของการเลือก
ปฏิบัติเฉพาะมิติทางการศึกษา
• กรณีที่สอง กฎหมายที่คุ้มครองเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเพียงเหตุเดียว แต่ครอบคลุมมิติของการเลือก
ปฏิบัติหลายมิติ เช่น กฎหมายคุ้มครองการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ โดยมีขอบเขตห้ามเลือกปฏิบัติต่อ
คนพิการในหลายมิติ เช่น การศึกษา การจ้างแรงงาน การเข้าถึงสินค้าและบริการ
• กรณีที่สาม กฎหมายที่มีขอบเขตเฉพาะการเลือกปฏิบัติมิติหนึ่ง แต่ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
หลายเหตุ เช่น กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับแรงงาน วางหลักห้ามการเลือกปฏิบัติด้านแรงงานด้วยเหตุ
แห่งเพศ ความพิการ อายุ ศาสนา เป็นต้น
รูปแบบที่ ๓ มีลักษณะผสมผสานระหว่างรูปแบบที่ ๑ และ รูปแบบที่ ๒ กล่าวคือ มีการก�าหนดกฎหมาย
กลางที่ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติหลายเหตุ และครอบคลุมมิติของการเลือกปฏิบัติหลายมิติ อย่างไรก็ตาม
นอกจากกฎหมายกลางนี้แล้ว ยังมีกฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะส�าหรับการห้ามเลือกปฏิบัติ
ในบางมิติ หรือบางเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ จากการศึกษาพบว่า การบัญญัติกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติใน
ต่างประเทศ มักจะใช้รูปแบบที่ ๓
14