Page 16 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 16

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ



                            จากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติ  เมื่อน�ามาพิจารณาภายใต้

               กรอบการจ�าแนกรูปแบบทั้งสามดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศที่จัดอยู่ในรูปแบบที่หนึ่ง เช่น แคนาดา สวีเดน
               ประเทศที่จัดอยู่ในรูปแบบที่สอง เช่น อินเดีย ประเทศที่จัดอยู่ในรูปแบบที่สาม เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์
               แอฟริกาใต้ เป็นต้น

                            ในกรณีของประเทศไทย  พบว่า  ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเฉพาะที่วางหลักห้ามเลือกปฏิบัติ
               อันเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางเหตุและเกี่ยวข้องกับมิติของการเลือกปฏิบัติบางด้าน  แต่ยังไม่มีกฎหมายกลาง
               ที่ครอบคลุมอย่างกว้างถึงเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติและมิติของการเลือกปฏิบัติทั้งหมดในภาพรวม ดังเช่นในกรณี

               ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฟินแลนด์ ประเทศสวีเดน ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย ดังนั้น ในกรณีของประเทศไทย
               จึงอาจจัดอยู่รูปแบบที่สอง ซึ่งน�าไปสู่ปัญหาส�าคัญที่ว่า กฎหมายเฉพาะต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นยังไม่ครอบคลุมถึงการเลือก
               ปฏิบัติและการกระท�าที่ละเมิดต่อหลักความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน  เช่น  กรณีการคุกคาม  (Harassment)

               ด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติอื่น ๆ นอกจากเหตุแห่งเพศ การคุกคามทางเพศในสถานที่ท�างานที่เกิดขึ้นระหว่างลูกจ้าง
               ด้วยกันเอง และกรณีสภาพแวดล้อมการท�างานในลักษณะคุกคาม (Hostile Working Environment) การปฏิบัติต่อ

               บุคคลอื่นในลักษณะเป็นที่พึงพอใจน้อยกว่าในที่สาธารณะหรือการปฏิบัติต่อบุคคลอื่นในลักษณะด้อยกว่า การปฏิเสธ
               การให้บริการหรือจ�าหน่ายสินค้าด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ การสื่อสารที่ท�าให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech)
               เป็นต้น ท�าให้ยังมีการเลือกปฏิบัติหลายกรณีที่กฎหมายไทยยังไม่ครอบคลุมถึง เนื่องจากไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย

               เฉพาะที่มีอยู่ และไม่มีกฎหมายกลางที่มีขอบเขตกว้างมารองรับ


                        ข้อเสนอแนะ



                        เนื่องจากผลการวิจัยชี้ให้เห็นประเด็นเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ ทั้งในภาพรวมและในกรณีเฉพาะหลายประเด็น

               ผู้วิจัยจึงได้จ�าแนกข้อเสนอแนะ ดังนี้


                        (๑) ข้อเสนอแนะในภาพรวม

                            จากปัญหาขอบเขตกฎหมายไทยที่มีผลบังคับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลการวิจัยภายใต้กรอบแนวคิดของ
               การเลือกปฏิบัติในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้น พบว่ายังไม่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในหลายกรณี จึงน�ามาสู่
               ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย  ด้วยการเสนอให้มีการบัญญัติ  กฎหมายกลางที่เกี่ยวกับการ

               เลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุต่าง ๆ ตามที่รับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายไทย กติการะหว่างประเทศ
               ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม

               อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ รวมทั้งครอบคลุมเหตุอื่นที่มีความจ�าเป็นในสังคม
               ปัจจุบัน
                            ส�าหรับรูปแบบของกฎหมายกลางของประเทศไทยนั้น จากผลการวิจัยที่ได้ศึกษาระบบโครงสร้างกฎหมาย

               ของต่างประเทศในการห้ามเลือกปฏิบัติและได้จ�าแนกเป็น ๓ รูปแบบนั้น พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในรูปแบบที่สอง
               กล่าวคือ มีกฎหมายเฉพาะบางฉบับที่ครอบคลุมบางมิติหรือบางเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ จึงท�าให้ไม่ครอบคลุมการเลือก

               ปฏิบัติในประเด็นที่อยู่นอกขอบเขตกฎหมายเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อเสนอ ๒ แนวทาง คือ
                            • แนวทางแรก เสนอให้ไทยปรับโครงสร้างกฎหมายโดยยกเลิกกฎหมายเฉพาะฉบับต่าง ๆ ที่มีหลักการ
               ห้ามเลือกปฏิบัติ โดยรวมหลักการห้ามเลือกปฏิบัติเข้ามาอยู่ในกฎหมายกลางอันเป็นกฎหมายหลักฉบับเดียว ซึ่งเป็น





                                                              15
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21