Page 8 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 8
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติ ในกรอบ
ของกฎหมายสิทธิมนุษยชน อันปรากฏจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค
และกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยน�ามาสร้างเป็นกรอบแนวคิดเพื่อการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการเลือก
ปฏิบัติ โดยมีปัจจัยพิจารณาหลัก ๒ ประการ คือ
๑) เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ (Grounds of Discrimination, Protected Ground) การปฏิบัติที่
แตกต่างกันจะจัดเป็นการเลือกปฏิบัติซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เมื่อการปฏิบัตินั้นเกี่ยวข้องกับ “เหตุแห่ง
การเลือกปฏิบัติ” เมื่อพิจารณาหลักกฎหมายระหว่างประเทศพบว่า เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติมีการระบุไว้ เช่น กติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ก�าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติครอบคลุม “เชื้อชาติ สีผิว
เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน ก�าเนิด หรือ
สถานะอื่น” 1
๒) มิติของการเลือกปฏิบัติ (Area of Discrimination, Area Covered) การปฏิบัติที่แตกต่างกัน
อันเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติอาจเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ หรือเรียกได้ว่าเกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ของบุคคล
ในการด�าเนินชีวิต เช่น การท�างาน การศึกษา การจ้างงาน บริการภาครัฐ การประกอบธุรกิจ การประกอบวิชาชีพ การ
เป็นสมาชิกองค์กร สินค้าและบริการในภาคเอกชน การประชุมสัมมนา กิจกรรมสาธารณะ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามิติของ
การเลือกปฏิบัติอาจมีความเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
นอกจากปัจจัยทั้งสองประการแล้ว จากการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศพบว่า
ได้มีการก�าหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาว่าการปฏิบัตินั้นเป็นเพียงการปฏิบัติแตกต่างกันอันสามารถท�าได้
หรือเป็นการเลือกปฏิบัติซึ่งขัดต่อกฎหมาย โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีตัวอย่างเช่น หลักขอบแห่งดุลพินิจ (Margin of
Appreciation) การชั่งน�้าหนักกับผลประโยชน์อื่น มาตรการยืนยันสิทธิเชิงบวก (Affirmative Action) เป็นต้น ด้วย
เหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงน�าปัจจัยเกี่ยวกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติและมิติแห่งการเลือกปฏิบัติ ประกอบกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว
มาประกอบกันเป็นกรอบการวิเคราะห์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน (Distinction / Differentiation)
เพื่อสามารถจ�าแนกว่ากรณีใดเป็นกรณีของการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกรณีใดไม่อยู่ในขอบเขต
การเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ งานวิจัยฉบับนี้จะได้ศึกษาต่อไปว่า การเลือกปฏิบัติที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้น
ตามกฎหมายภายในของไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีขอบเขตครอบคลุมอย่างเหมาะสมหรือไม่ ประการใด โดยการศึกษา
เปรียบเทียบกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาขอบเขต
ความครอบคลุมดังกล่าว ผู้วิจัยจะได้น�าประเด็นเฉพาะต่าง ๆ เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติมาวิเคราะห์ เช่น การเลือก
ปฏิบัติในกรณีบริการภาครัฐ ปัญหาขอบเขตของกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติในภาคเอกชน การเลือกปฏิบัติ
1 From “Social identity, system justification, and social dominance: Commentary on Reicher, Jost et al.,
and Sidanius et al.” by Rubin, M.; Hewstone, M.; et al. (2004). Political Psychology 25 (6), p. 823–844
7