Page 94 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 94

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       ส่วนที่ 3 ระบุบทบาทของภาครัฐในการดูแลจัดการสิทธิ ซึ่งในกรณีของสิทธิในการท างานอย่าง

               ยุติธรรมและมีสภาพการท างานที่ดี จะก าหนดบทบาทของภาครัฐในการมุ่งเน้นในข้อบังคับหลักที่ส าคัญ (core
               obligations) เป็นหลัก ในขณะที่ข้อบังคับอื่นๆ อาจจะละเว้นไม่บังคับได้ในกรณีที่มีเหตุผลจ าเป็น เช่น ในช่วง

               ที่เศรษฐกิจตกต่ า เป็นต้น และแบ่งบทบาทออกเป็น 3 บทบาทเช่นเดียวกันกับสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพ และ

               สิทธิในการเข้าถึงการอุปโภคบริโภคน้ า โดยรัฐควรที่จะมีกลไกการตรวจสอบ ประเมินและสร้างกลไกการ
               รับผิดชอบโดยการตั้งตัวชี้วัด เก็บข้อมูล การตั้งเป้าหมายและการตรวจสอบผ่านตัวชี้วัด


                       นอกจากนี้ รัฐยังมีบทบาทที่ส าคัญในการแสวงหาความร่วมมือและความช่วยเหลือจากภายนอก
               ประเทศ โดยในส่วนนี้ได้ระบุเพิ่มเติมถึงบทบาทขององค์การอื่นๆ นอกจากภาครัฐที่อาจจะมีบทบาทในการ

               จัดการสิทธิ ได้แก่ UN, ILO, World Bank, Regional Development Bank, IMF, WTO และ OHCHR

                       ส่วนสุดท้ายจะอธิบายถึง ความล้มเหลวในการจัดการสิทธิของภาครัฐ ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ

               การกระท าของภาครัฐเองที่เป็นการละเมิดสิทธิ หรือการที่ภาครัฐไม่กระท าการซึ่งส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิ

               ขึ้น

                       เอกสารเรื่อง สิทธิในการท างานอย่างยุติธรรมและมีสภาพการท างานที่ดี ได้ให้ตัวอย่างการจัดการของ

               สิทธิอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยในเอกสารได้ระบุถึง

               ประเภทของแรงงานที่น่าจะมีการจ าแนกเพื่อพิทักษ์สิทธิ ได้แก่ แรงงานหญิง แรงงานเด็ก/แก่ แรงงานพิการ
               แรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานในชาติ แรงงานที่จ้างตนเอง แรงงานเกษตร แรงงาน

               ลี้ภัย แรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง (แต่ท างาน) นอกจากนี้ เอกสารยังได้มีการเสนอถึงบทบาทของภาครัฐ ที่ทาง

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถเข้ามาร่วมมีบทบาทด้วย ได้แก่ การร่วมตรวจตราการท างานของ
               ภาครัฐ ทั้งในส่วนที่ภาครัฐด าเนินธุรกิจ (รัฐวิสาหกิจ) และในส่วนที่ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบ

               ประเมินและคุ้มครองเยียวยา เช่น ผู้ตรวจสอบด้านแรงงาน (labor  inspection) การร่วมมือกับสหภาพ
               แรงงานในการดูแลด้านสิทธิแรงงาน


                       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังสามารถเข้ามาให้ความช่วยเหลือภาครัฐในการพิจารณาถึง

               ประเด็นการเลือกปฏิบัติในที่ท างาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนากฎระเบียบ ข้อบังคับ การปิดช่องโหว่ของ
               กฎหมาย และสนับสนุนในกระบวนการยุติธรรม เช่น การตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิได้รับการ

               เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สามารถเข้ามามี

               บทบาทในการปลูกฝัง ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชน รวมทั้งการสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูล และกลไก
               การตรวจสอบ/กลไกการร่วมรับผิดชอบในประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชน ท้ายที่สุดคณะกรรมการสิทธิ

               มนุษยชนแห่งชาติ ควรที่จะแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศในการจัดการด้านสิทธิ











                                                           3-24
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99