Page 89 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 89

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                          เพื่อจัดการปัญหา หรือความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาภายใต้กลไกการด าเนินธุรกิจและการบริหาร

                          จัดการความเสี่ยง
                       -   พยายามพิจารณากิจกรรมที่อาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบไม่เพียงแต่เฉพาะในธุรกิจของตน แต่ให้

                          ผลักดันไปสู่ผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นกลางและผู้ที่รับจ้างด าเนินการ

                       -   รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อน าไปสู่การพัฒนาชุมชน
                       -   ร่วมมือและให้การสนับสนุนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างกลไกการรับผิดชอบในการบริหาร

                          จัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิต โดยอาศัยมาตรฐานที่สอดคล้องกับระดับการพัฒนาทางด้าน

                          เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ร่วมกับมาตรฐานในระดับสากล
                       -   ส าหรับธุรกิจที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีการลงทุนข้ามชาติ ควรที่จะด าเนินการตามข้อแนะน าของ

                          OECD ฉบับนี้ ร่วมกับข้อแนะน าส าหรับรัฐวิสาหกิจในการพัฒนาธรรมาภิบาล


                       ส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูลว่าด้วยข้อมูลพื้นฐานที่ควรเปิดเผย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อมูล

               พื้นฐานทั่วไป (ข้อมูลด้านสถานะทางการเงิน ผลการด าเนินงาน โครงสร้างองค์กร และกลไกการจัดการ
               ทางด้านธรรมาภิบาล) และข้อมูลเพิ่มเติมที่มาตรฐานในการด าเนินงานยังอยู่ในช่วงการพัฒนา เช่น รายงาน

               ด้านสังคม รายงานด้านสิ่งแวดล้อม รายงานด้านความเสี่ยง ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

               คือ การท ารายงานด้านสิทธิมนุษยชน ความเสี่ยงของการด าเนินธุรกิจในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจน
               ประเด็นปัญหา ความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นกลางและผู้ที่รับจ้างด าเนินการ

               นอกจากนี้ ในข้อแนะน าของ OECD  ยังได้สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลผ่านการสื่อสารที่สร้างต้นทุนให้กับผู้ที่

               ต้องการได้รับข้อมูลน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของชุมชนที่การรับข้อมูลข่าวสารท าได้ยาก

                       ส่วนที่ 4 ด้านสิทธิมนุษยชน ว่าด้วยข้อแนะน าของ OECD ส าหรับธุรกิจข้ามชาติในประเด็นด้านสิทธิ

               มนุษยชน ดังนี้

                       -   ธุรกิจควรที่จะมีการระบุเจตจ านงในการจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน

                       -   ธุรกิจควรที่จะมีแผนการด าเนินการที่ดูแลด้านสิทธิมนุษยชน
                       -   การจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ควรที่จะขยายขอบเขตมากกว่าเฉพาะในกิจกรรมที่ธุรกิจ

                          ด าเนินการอยู่ แต่พิจารณาประเด็นปัญหา และความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากับธุรกิจที่มีความ

                          เกี่ยวเนื่องด้วย
                       -   มาตรฐานในการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ควรที่จะเป็นมาตรฐานในระดับสากล ไม่ใช่แค่เฉพาะที่

                          จ ากัดโดยกฎหมายในประเทศ

                       -   หากธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ธุรกิจควรให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการ
                          จัดการกับปัญหา และสนับสนุนกระบวนการเยียวยา









                                                           3-19
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94