Page 90 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 90
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ส่วนที่ 5 การจ้างงานและความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมว่าด้วยเสรีภาพ และการไม่เลือกปฏิบัติต่อ
แรงงานตามมาตรฐานสิทธิแรงงานของ ILO ปีค.ศ. 1998 การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนในเด็ก
ส่วนที่ 6 สิ่งแวดล้อมว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ธุรกิจควรที่จะมีกลไก
การจัดการปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการด าเนินธุรกิจ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้
ธุรกิจควรที่จะให้การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว และให้การสนับสนุนการ
ปลูกฝังให้ความรู้กับสาธารณะและการร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (พนักงาน ลูกค้า ผู้ผลิตวัตถุดิบขั้นกลาง
ผู้รับจ้างด าเนินการ ชุมชน) ในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และท าความเข้าใจกับประเด็นการดูแลรักษา
สิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ส่วนที่ 7 ว่าด้วยการต่อต้านการรับสินบน ซึ่งไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง
ส่วนที่ 8 ผลประโยชน์ของลูกค้าว่าด้วยสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารของสินค้าและบริการ
ที่ถูกต้อง ชัดเจน จนสามารถตัดสินใจเลือกสินค้าได้อย่างเหมาะสม และสินค้าและบริการจะต้องมีคุณภาพ ได้
มาตรฐานความปลอดภัย หรือมีค าเตือนด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่ชัดเจน
ส่วนที่ 9 ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนนี้จะไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน
โดยตรง
ส่วนที่ 10 การแข่งขัน จะเกี่ยวข้องกับการด าเนินธุรกิจภายใต้กลไกการแข่งขัน และไม่สนับสนุนการ
ท าข้อตกลงกับธุรกิจอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเพื่อน าไปสู่การก าหนดราคา หรือปริมาณสินค้าที่น าไปสู่การจ ากัด
ปริมาณการบริโภคสินค้า ธุรกิจควรจะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในกระบวนการตรวจสอบและจัดการปัญหา
อีกด้วย
ส่วนที่ 11 ภาษี ส่วนนี้จะไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง
ในส่วนของกลไกการผลักดันข้อแนะน าของ OECD ส าหรับธุรกิจข้ามชาติให้มีการใช้จริงในภาคปฏิบัติ
จะสนับสนุนให้แต่ละประเทศมีตัวแทนติดต่อ (national contact point) เพื่อเป็นตัวกลางในการประสาน
ความร่วมมือ โดยตัวแทนติดต่อ มีหน้าที่ที่ส าคัญ คือ การเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือ
ภายในประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ การสนับสนุนการผลักดันให้ข้อแนะน านี้ได้ถูกใช้ในหมู่ธุรกิจ การ
พิจารณาเบื้องต้นถึงประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ของภาคธุรกิจที่อาจจะมีในข้อแนะน านี้ และน าเสนอไปยังตัวแทน
ติดต่อของประเทศอื่นๆ หรือติดต่อกับคณะท างานด้านการลงทุน (investment committee) เพื่อแก้ไขข้อ
สงสัยนั้นๆ รวมทั้งการท ารายงานสรุปผลการด าเนินงานให้กับคณะท างานด้านการลงทุน (investment
committee) ทั้งนี้ คณะท างานด้านการลงทุนจะเป็นคณะท างานหลักที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะ
ของ OECD เล่มนี้
3-20