Page 88 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 88

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                                                                             15
                       3.1.7   OECD Guidelines for Multinational Enterprises
                       ข้อแนะน าของ OECD ส าหรับธุรกิจข้ามชาติในการด าเนินธุรกิจ เป็นข้อแนะน าที่ได้จากผลการประชุม

               ของภาครัฐของประเทศ OECD  และประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม OECD รวม 42  ประเทศ ให้กับธุรกิจข้ามชาติ

               เพื่อให้การด าเนินธุรกิจส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมทั่วโลก

                       ในข้อแนะน าได้แบ่งการน าเสนอออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนข้อเสนอแนะให้กับธุรกิจข้ามชาติในการ

               ด าเนินธุรกิจ และส่วนกลไกการผลักดันข้อแนะน าของ OECD  ส าหรับธุรกิจข้ามชาติให้มีการใช้จริงใน
               ภาคปฏิบัติ โดยในส่วนข้อเสนอแนะให้กับธุรกิจข้ามชาติ ได้มีการแบ่งย่อยออกเป็น 11 หัวข้อ ซึ่งมีรายละเอียด

               ดังนี้


                       ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ ว่าด้วยกรอบแนวคิดที่ส าคัญ คือ ข้อแนะน าของ OECD  ส าหรับธุรกิจ
               ข้ามชาติ ไม่ได้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่เป็นข้อแนะน าที่ธุรกิจข้ามชาติควรปฏิบัติ ภาครัฐของแต่ละ

               ประเทศมีอ านาจสิทธิขาดในการตัดสินใจว่าจะบังคับธุรกิจให้ด าเนินการตามข้อแนะน าของ OECD ในประเด็น

               ใดบ้าง ทั้งนี้ข้อแนะน าของ OECD  เป็นข้อเสนอแนะให้กับภาครัฐเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณารูปแบบ
               การด าเนินธุรกิจที่ดีของธุรกิจข้ามชาติ เพื่อที่จะน าไปสู่การปฏิบัติต่อธุรกิจข้ามชาติเยี่ยงธุรกิจในชาติ


                       ส่วนที่ 2 นโยบายทั่วไป ว่าด้วยสิ่งที่ธุรกิจข้ามชาติพึงกระท า และควรกระท า โดยส่วนที่ส าคัญที่
               เกี่ยวข้องกับเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ประกอบไปด้วย


                       สิ่งที่ธุรกิจข้ามชาติพึงกระท า

                       -   สนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคม

                       -   เคารพในหลักการสิทธิมนุษยชนสากล

                       -   ไม่แสวงหาช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อหาผลประโยชน์จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                       -   การให้ความตระหนักรู้กับพนักงานในธุรกิจเกี่ยวกับนโยบายที่ส าคัญของธุรกิจ (รวมถึงประเด็น

                          ด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ )

                       -   ไม่เลือกปฏิบัติต่อพนักงานที่เปิดเผยข้อมูลปัญหาของธุรกิจกับหน่วยงานภาครัฐ โดยในข้อแนะน า
                          ของ OECD ได้สนับสนุนให้ธุรกิจมีการสร้างระบบปกป้องผู้ร้องเรียน (whistle blower) ขึ้น

                       -   พิจารณากิจกรรมที่อาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งแบ่งกลไก

                          การด าเนินงานออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การระบุถึงปัญหา (identify) การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
                          (prevent)  การลดทอนปัญหาที่ก าลังเกิดขึ้น (mitigation)  และ อธิบายถึงกลไกการด าเนินการ







               15
                    OECD. (2011). “OECD Guidelines for Multinational Enterprises.” OECD Publishing. [ระบบออนไลน์].
                   แหล่งที่มา http://dx.doi.org/10.1787/9789264115415-en



                                                           3-18
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93