Page 86 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 86

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       เป็นที่น่าสังเกตว่าแผน NAP ของประเทศเนเธอร์แลนด์ไม่ได้ครอบคลุมในประเด็นอื่นๆ เช่น หลักการ

               UNGP  เรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนนโยบายรัฐบาลทั้งหมดที่กระทบกับภาคธุรกิจให้มีความเหมาะสมเพื่อป้องกัน
               การละเมิดสิทธิมนุษยชน และถึงแม้ว่าจะมีข้อเท็จจริงว่ามีนโยบายและมาตรการริเริ่มมากมายถูกหยิบยกขึ้นมา

               เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้สอดคล้องไปด้วยกันกับหลักการ UNGP โดยยังคงทิ้งประเด็นปัญหา

               ให้ขบคิดต่อไปว่าจะสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ทางสิทธิมนุษยชน การเงินและเศรษฐกิจได้อย่างไร ทั้งนี้ มี
               ตัวอย่าง 4 ประเด็นในแผน NAP ของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่น่าจะพิจารณา ได้แก่


                         ข้อตกลงทางการค้าและการลงทุน


                       แผน NAP อ้างถึงความเป็นไปได้ของการเพิ่มเนื้อหาหรือประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของ

               ข้อตกลงทางการค้าและการลงทุนซึ่งลงนามโดยรัฐบาล แต่ในทางปฏิบัติ นี่เป็นการระบุถึงพันธกรณีทางสิทธิ

               มนุษยชนของรัฐเท่านั้น ไม่ใช่หน้าที่ของภาคธุรกิจแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาในส่วนนี้เป็นเพียงการลด
               หรือบรรเทาผลกระทบสิทธิมนุษยชนในเชิงลบที่มีอยู่ในข้อตกลง โดยมิได้ค านึงถึงการจัดท าข้อตกลงในลักษณะ

               เชิงบวกเพื่อป้องกันสิทธิมนุษยชนไว้แต่แรก


                         สถานทูต


                       แผน NAP ก าหนดให้สถานทูตเนเธอร์แลนด์มีบทบาทที่ส าคัญต่อการสร้างความตระหนักรู้ให้กับภาค

               ธุรกิจเกี่ยวกับความเสี่ยงทางสิทธิมนุษยชนอันเกิดขึ้นจากกิจการของตน  แม้ว่าจะมีสถานฑูตด าเนินการตาม
               บทบาทนี้ แต่สถานทูตก็ต้องด าเนินการภายใต้งบประมาณของสถานทูตเอง นอกจากนี้ ภารกิจของสถานทูตคือ

               การส่งเสริมการส่งออก การให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจอาจจะส่งผลกระทบต่อ

               สถานฑูตในการบรรลุเป้าหมายและการได้รับค่าตอบแทนจากการส่งเสริมให้เกิดความตกลงทางธุรกิจขึ้น ซึ่ง
               เป็นประเด็นส าคัญของสถานฑูตที่จะต้องค านึงว่าเรื่องใดที่สถานฑูตควรจะให้ความส าคัญมากกว่ากันระหว่าง

               การแสดงหาโอกาสทางธุรกิจหรือการสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ


                         การสนับสนุนของรัฐบาล


                       รัฐบาลได้สนับสนุนให้ปฏิบัติตามแนวคิด ICSR  แก่ภาคธุรกิจที่จะประกอบธุรกิจในต่างประเทศหรือ

               เกี่ยวข้องกับการค้าหากประสงค์ที่จะขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาล อย่างไรก็ดี ภายใต้เงื่อนไข

               ดังกล่าวก็ยังมีความไม่ชัดเจนว่าจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างเพื่อให้เงื่อนไขนั้นสมบูรณ์ ผลที่ตามมาของการ
               ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะเป็นอย่างไร และจะตรวจสอบรวมไปถึงการมีมาตรการลงโทษอย่างไรก็ยังไม่ได้มีการ

               ก าหนดเอาไว้ นอกจากนี้ เงื่อนไขนี้มีไว้เฉพาะการประกอบธุรกิจในต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งตามหลักการ UNGP

               แล้วการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนั้นไม่ได้จ ากัดเฉพาะภาคธุรกิจที่ด าเนินการในต่างประเทศแต่รวมถึงการ
               ประกอบกิจการในประเทศด้วย






                                                           3-16
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91