Page 87 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 87
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
มิติของผู้ถูกละเมิด
ในส่วนนี้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเด็น กล่าวคือ ประเด็นแรก ช่องทางการเยียวยา แผน NAP
ได้ให้ความส าคัญกับกลไกการเยียวยาที่ไม่ใช่ศาล นอกจากนี้รัฐบาลสามารถร้องขอให้ national contact
point ซึ่งอยู่ภายใต้ OECD เข้ามาด าเนินการศึกษาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบได้ใน
สถานการณ์ที่เลวร้าย อย่างไรก็ดี ค าว่า “สถานการณ์ที่เลวร้าย” ยังคงมีความหมายก ากวมและไม่มีค าจ ากัด
ความ ท าให้บทบาทของ NCP อาจจะไม่ได้ไปสู่ทางปฏิบัติหากยังคงไม่มีความชัดเจน นอกจากนี้ การเยียวยา
โดยช่องทางศาลยังคงมีความส าคัญมาก แต่หากการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในประเทศที่ช่องทางการ
เข้าถึงความยุติธรรมยังคงมีความจ ากัดก็อาจจะไม่ได้รับการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น จึงได้เสนอให้
บริษัทแม่จะต้องรับผิดในการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม ซึ่งประเด็นนี้ก็ยังคงถกเถียงและ
หาข้อสรุปไม่ได้ ประเด็นที่สอง ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคู่กรณี เนื่องจากว่าฐานะทางเศรษฐกิจของปักเจก
บุคคลที่ถูกละเมิดมีความแตกต่างกับภาคธุรกิจ และหากเป็นคดีแพ่งซึ่งใช้หลัก “ผู้ใดกล่าวหา ผู้นั้นน าสืบ” เป็น
การสร้างภาระให้ผู้ถูกละเมิดสิทธิซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดี เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรวบรวมเอกสาร ส่งผลให้ผู้ถูก
ละเมิดไม่มีความสามารถในการฟ้องร้องเอาผิดกับคู่กรณีได้ ดังนี้ แผน NAP จะต้องหามาตรการที่ชัดเจนเพื่อ
ช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สร้างภาระจนเกินสมควร
ประเด็นสุดท้าย สภาพนอกอาณาเขต รัฐบาลได้ก าหนดไว้ในแผน NAP จะยังคงเรียกร้องให้ภาคธุรกิจปฏิบัติ
ตามประมวลธรรมาภิบาลซึ่งก าหนดไว้ว่าผู้บริหารจะต้องค านึงถึงการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความเห็นว่าภาคธุรกิจควรที่จะมีความชัดเจนในกระบวนการรายงานเกี่ยวกับการด าเนินการ
ตามนโยบาย CSR ของตน อย่างไรก็ตาม แผน NAP ไม่ได้ก าหนดไว้ว่าจะต้องท าอย่างไร ท าให้ภาคธุรกิจไม่
อาจจะด าเนินการได้เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ในการด าเนินการแต่อย่างใด
เอกสารฉบับนี้เป็นการอธิบายแผน NAP ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่
คณะกรรมาธิการยุโรปเรียกร้องให้รัฐสมาชิกในสหภาพยุโรปร่วมกันพัฒนาแผน NAP ของตนขึ้นมา ซึ่งเป็นการ
สะท้อนถึงความเข้มแข็งและความเป็นน้ าหนึ่งใจเดียวกันระหว่างภูมิภาค นอกจากนี้ ยังได้มีการเรียกร้องโดย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศเนเธอร์แลนด์เอง ส่งผลให้มีการจัดตั้งคณะท างานเพื่อด าเนินการท าแผน
NAP ขึ้น แผนดังกล่าวอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีการปรึกษาหารือเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อท า
ให้แผนนี้มีความครอบคลุมและมีความชัดเจน
อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวก็ยังคงมีช่องโหว่ทั้งในแง่ของการไม่ก าหนดกรอบเวลาบังคับใช้แผน NAP
ข้อตกลงทางการค้าและการลงทุนที่ไม่ได้เจาะจงเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของภาคธุรกิจในการเคารพสิทธิ
มนุษยชน บทบาทของสถานทูตในต่างประเทศในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ไม่เอื้อต่อการด าเนินการดังกล่าว
การสนับสนุนของรัฐบาลที่ไม่ชัดเจน และเฉพาะเจาะจงในการก าหนดให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้เคารพ
สิทธิมนุษยชน และประเด็นสุดท้ายคือ มิติของผู้ถูกละเมิดที่ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการเยียวยา
3-17