Page 85 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 85

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       ในเอกสารว่าด้วย CSR  และคณะกรรมาธิการยุโรปได้เรียกร้องให้สมาชิกของสหภาพยุโรปพัฒนา

               แผนการด าเนินงานตามหลักการ UNGP นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรก็ได้เรียกร้องในลักษณะเดียวกันจนท า
               ให้เกิดการจัดท าแผนปฏิบัติการแห่งชาติ (National  Action  Plan  :  NAP) ขึ้น และได้เสนอต่อสภา

               ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ประเทศเนเธอร์แลนด์ถือว่าเป็นประเทศที่สองในโลก รองจาก

               ประเทศสหราชอาณาจักรที่จัดท าและเผยแพร่แผน NAP โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่ในการ
               ประสานงานตามขั้นตอนการจัดท าแผน NAP  ในช่วงกลางปีค.ศ. 2012 ได้มีการจัดตั้งคณะท างานร่วมกัน

               ระหว่างกระทรวง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง กระทรวงความมั่นคงและยุติธรรม

               กระทรวงสังคมและการจ้างงาน โดยคณะท างานนี้ได้เปรียบเทียบหลักการ UNGP ร่วมกับนโยบายในปัจจุบัน
               อีกทั้งยังได้จัดให้มีการสัมภาษณ์และปรึกษาหารือกับผู้แทนของภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม องค์กร

               ผู้ด าเนินการและผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ   และได้มีการก าหนดประเด็นและแนวคิดที่ส าคัญของแผน NAP  อย่างไร

               ก็ตาม มีหลายประเด็นเช่นกันที่แผน NAP ยังไม่ได้ตอบค าถาม อาทิ แผน NAP จะมีกรอบระยะเวลานานเท่าใด
               การด าเนินการตามแผนนั้นจะสามารถติดตามและประเมินผลได้อย่างไร และจะหางบประมาณจากที่ไหนมา

               ด าเนินการตามแผน


                       ในส่วนของนโยบายปัจจุบันนั้น ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ผลักดันให้นโยบายของตนส่งเสริมให้ภาค

               ธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนและป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากห่วงโซ่
               อุปทานของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคาดหวังว่าบริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่ไปด าเนินธุรกิจนอก

               ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ต่ ากว่าจะยังคงรักษามาตรฐานการ

               เคารพสิทธิมนุษยชนและประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบเหมือนที่ด าเนินธุรกิจในประเทศเนเธอร์แลนด์

                                                             14
                       ในเอกสารนโยบายชื่อว่า “A World to Gain”  ซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือและ
               การค้า ได้ก าหนดให้ความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างประเทศของภาคธุรกิจ (International  Corporate

               Social Responsibility : ICSR) เป็นเงื่อนไขบังคับเพื่อการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลจึง

               คาดหวังให้ภาคธุรกิจด าเนินการตามหลักปฏิบัติ OECD  ในทุกๆ ที่ และตามหลักการ UNGP  ได้ก าหนดให้
               ภาคเอกชนจะต้องด าเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งในธุรกิจของตนเองและห่วงโซ่อุปทานของ

               ตนโดยได้ก าหนดเอาไว้อย่างชัดเจนในบทที่ 3 ของแผน NAP อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบการละเมิดสิทธิ

               มนุษยชนดังกล่าวก็ยังคงเป็นการด าเนินไปอย่างจ ากัดไม่ครอบคลุมทุกประเด็น กล่าวคือ มีการให้ความส าคัญ
               กับการประเมินความเสี่ยง แต่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การด าเนินการและการตรวจสอบผลจากการประกอบธุรกิจ





               14
                    A World to Gain. (2013). “A New Agenda for Aid, Trade and Investment. House of Representatives
                   33 625, no 1, April 2013.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.government.nl/

                   government/contents/ members-of-cabinet/lilianne-ploumen/documents/letters/2013/04/05/ global-
                   dividends-a-new-agenda-for-aid-trade-and-investment



                                                           3-15
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90