Page 60 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 60
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
เพื่อให้ยกเลิก แต่หน่วยงานภาครัฐกลับไปเป็นพยานให้กับบริษัทเหมืองทอง ซึ่งสะท้อนว่าบทบาทของรัฐใน
กรณีดังกล่าวยังคงบกพร่องอยู่
3. ในประเด็นการด าเนินงานของ กสม. นั้น กสม. จะเป็นคนดูนโยบาย และทิศทางกว้างๆ แต่
ส านักงานจะต้องเตรียมเรื่องพื้นฐาน ตั้งแต่ กสม. ชุดที่ 1 เป็นต้นมา กสม. ใช้ส านักงานเป็นหน่วยธุรการมาโดย
ตลอด กล่าวคือ ให้ด าเนินกิจกรรมตามความต้องการของกรรมการสิทธิฯ แต่ละราย เป็นการเฉพาะมากเกินไป
ซึ่งบทบาทของส านักงานควรจะต้องสนับสนุนทางวิชาการ ไม่ใช่ท าแต่งานธุรการของ กสม. อีกอย่างคือ
โครงสร้างเจ้าหน้าที่ของ กสม. เน้นหนักไปที่กฎหมายและรัฐศาสตร์ แต่สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของสหวิชาชีพ
ท าให้ประเด็นบางประเด็นที่ กสม. ไม่สามารถด าเนินงานตามที่ควรจะเป็นได้ และ กสม. ควรจะมีบทบาทใน
การสร้างกรอบเจรจามากกว่า
4. การเอารัดเอาเปรียบของภาคเอกชน เช่น เกษตรพันธสัญญา รัฐมีหน้าที่จะต้องเข้าไปคุ้มครอง
ไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบในเรื่องของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และเรียกร้องให้มีการเยียวยาจากนายทุน
เพราะเกษตรพันธสัญญาเป็นการเอารัดเอาเปรียบโดยที่ตัวเองไม่ต้องเสี่ยงอะไร และทิ้งภาระไว้ที่เกษตรกร
อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าว กสม. ควรจะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเป็นคนจัดการ ทั้งนี้ประเด็นที่ กสม.
จะต้องให้ความส าคัญ และพอจะท าได้คือ ประเด็นการแย่งชิงฐานทรัพยากรและการท าลายสิ่งแวดล้อม ส่วน
ประเด็นการเอารัดเอาเปรียบกับการค้ามนุษย์และประเด็นเกษตรพันธสัญญา กสม. ควรให้ความส าคัญ
รองลงมาเพราะ มีภาครัฐอื่นๆ ด าเนินการอยู่แล้ว
5. กสม. ไม่ได้มีหน้าที่คุยกับธุรกิจ แต่ต้องคุยกับรัฐบาล เพราะ กสม. เป็นแค่กลไกในการตรวจสอบ
ไม่จ าเป็นต้องไปสร้างความตระหนักรู้ให้กับภาคเอกชน เพราะไม่ใช่หน้าที่ แม้ว่า กสม. จะมีหน้าที่ส่งเสริมสิทธิ
มนุษยชน แต่เป็นการสร้างบรรยากาศของการส่งเสริม การเคารพในความต่างและการมีส่วนร่วม โดย กสม.
ต้องชี้ประเด็นให้รัฐบาลรู้ว่าประเด็นไหนคือการส่งเสริม ประเด็นไหนคือการไม่ส่งเสริม
6. การฟ้องคดีโดย กสม. ไม่ควรท า แต่สามารถเป็นพยานให้กับศาลโดย “Amicus Curiae” ไม่ใช่
เป็นคู่ความ มิฉะนั้น กสม. จะสูญเสียความเป็นกลางไป การไกล่เกลี่ยไม่ควรท า เพราะเป็นเรื่องของศาล แต่
กรณี ของเขตเศรษฐกิจพิเศษ กสม. สามารถเข้าไปเจรจาและเสนอทางเยียวยา ซึ่งการไกล่เกลี่ยแบบนี้ความ
เสียหายยังไม่เกิด แต่มีแนวโน้มที่จะละเมิด แต่ต้องมีการก าหนดรายละเอียดการไกล่เกลี่ยให้เหมาะสมต่อไป
7. กสม. ควรจะต้องปกป้องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน แต่ที่ผ่านมาเป็นการปกป้องผิดวิธี เช่น การไปรับ
เรื่องร้องเรียนต่อหน้าสื่อ หรือการท า white list ซึ่งจะท าให้คนที่อยู่ในรายชื่อถูกเพ่งเล็งหรือข่มขู่ คุกคาม
ดังนั้น กสม. จะต้องเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสอบถามถึงแนวปฏิบัติการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
และให้การดูแลบุคคลเหล่านี้
8. ในประเด็นของกฎหมาย Anti SLAPP กสม. ต้องให้ความคุ้มครองในทุกๆ ด้าน เช่น การถูกแกล้ง
ฟ้องหรือใส่ความ เพราะเกิดจากปัญหาของช่องว่างทางกฎหมายซึ่ง กสม. ควรจะอุดช่องว่างนั้น
2-36