Page 63 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 63
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
5. ในส่วนของการไกล่เกลี่ย ส่วนตัวไม่เห็นด้วยให้ต้องมีกระบวนการนี้ เพราะการไกล่เกลี่ยไม่ได้
มองดูว่าใครผิดใครถูก ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเสียก่อน ถึงจะมาประนีประนอมเยียวยากันอีกที ไม่งั้นจะรู้สึก
เหมือนว่า ใช้เงินจ่ายแก้ปัญหาก็จบ ในประเด็นที่รุนแรงไม่ควรจะยอมให้มีการไกล่เกลี่ยได้
6. หลักสูตรนักบริหารเป็นหลักสูตรที่สร้างเครือข่ายระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐกับนักธุรกิจ ซึ่ง
ชาวบ้านไม่มีโอกาสเหล่านี้ก็น่าคิดว่า ภาครัฐกับเอกชนมีความสัมพันธ์ทับซ้อนและท าให้ชาวบ้านอาจจะถูก
ละเลยหรือเลือกปฏิบัติได้ เห็นได้จากโครงการขนาดใหญ่ที่กระทบกับชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีปัญหากันมาโดย
ตลอด
7. การเข้าถึง กสม. ในปัจจุบันท าได้ง่าย กระบวนการของชาวบ้านก็เข้มแข็งเพราะมีเครือข่าย แต่ก็
ยังไม่ประสบความส าเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การท างานภายในของ กสม. ควรจะต้องให้ความส าคัญใน
บุคลากรเพราะยังไม่มีประสิทธิภาพ เพราะคนส่วนใหญ่เป็นข้าราชการโอนย้ายมา ความเข้าใจหลักการสิทธิ
มนุษยชนยังมีอยู่อย่างจ ากัด เช่นเดียวกับองค์ความรู้เรื่องพวกนี้ ในส่วนของงบประมาณ กสม. มีงบประมาณที่
เพียงพอ และหากมีงบประมาณเหลือจากการด าเนินงาน กสม. ก็ไม่จ าเป็นต้องคืน
8. ความล่าช้าในการตรวจสอบของ กสม. เกิดขึ้นได้เพราะบางครั้งเป็นเรื่องต่อเนื่อง ไม่ได้จบเลย
ทันที เช่น มีเหตุฟ้องร้อง เหตุละเมิดอื่นๆ ที่ตามมาในภายหลัง การออกรายงานล่าช้าที่โดนต าหนิโดย OHCHR
และมีผลต่อการลดอันดับและสถานะของ กสม. ในที่นี้ คือ กรณีการออกรายงานเฉพาะรายงานการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนที่ส าคัญเท่านั้น
9. การจัดอันดับความส าคัญในขอบเขตสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ คือ สิทธิชุมชน
เสรีภาพในการแสดงความเห็นซึ่งจะมีผลต่อปัญหาการแกล้งฟ้องและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
10. การท างานร่วมกันระหว่าง กสม. กับภาคเอกชน ไม่แน่ใจว่า กสม. จะเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างไร
แต่การจะเป็นเครือข่ายกับผู้ใดไม่ว่าใครก็ตาม กสม. จะต้องคงความเป็นอิสระตามหลักการปารีส โดย กสม. จะ
ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใครในการรับรองความชอบธรรม
11. เกษตรพันธสัญญา ก็เป็นเรื่องที่ กสม. ตรวจสอบ รวมถึงเรื่องอื่นๆ เช่น การละเมิดทุนไทยใน
ต่างประเทศ แต่ กสม. ยังไม่มีกฎหมายเอาผิดกับนักธุรกิจไทยที่ไปท าความเสียหายในต่างประเทศ ทั้งนี้ กสม.
ก าลังรวบรวมประเด็นปัญหา และคดีของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนและจะท าข้อเสนอต่อรัฐบาล เช่น การตรา
กฎหมาย Anti SLAPP
2-39