Page 57 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 57
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ตนเองหรือผ่านเครือข่าย NGO ที่ขึ้นทะเบียนกับ กสม. หรือกับสถาบันการศึกษา อย่างไรก็ดี กสม. ควรจะต้อง
หาช่องทางการเข้าถึง กสม. ให้มากขึ้นกว่านี้
8. ในส่วนของการพัฒนาหน่วยงานใหม่ภายใน กสม. ในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบ
ธุรกิจ เห็นว่าไม่จ าเป็น เพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นสิทธิประเด็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชน ซึ่ง กสม. มีส านักที่ดูแล
เรื่องส่งเสริม คุ้มครอง การวิจัย ระหว่างประเทศที่เป็นหน่วยงานในการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก
และส านักเหล่านี้ก็มีขอบเขตอ านาจในการดูแลครอบคลุมประเด็นเรื่องนี้อยู่แล้ว ประเด็นสิทธิมนุษยชนและ
การประกอบธุรกิจ ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ชาติพันธุ์ คือ ประเด็นหลักที่ กสม. จะขับเคลื่อน แต่ไม่ได้
หมายความว่าเราจะต้องตั้งส านักงานใหม่ขึ้นมา กสม. ควรจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคลากรมากกว่า
9. การศึกษาบทบาทของ กสม. ในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ
จะช่วยสนับสนุนให้ กสม. ของไทยมีอ านาจเข้าไปจัดการความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนได้ เพราะที่
ผ่านมา กสม. จัดท าข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานของรัฐในการเข้าไปจัดการการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้
เสนอแนะกับเอกชนผู้กระท าละเมิดได้โดยตรง
10. การพัฒนาประสิทธิภาพของส านักงานคือ การมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐในการปรับปรุงโครงสร้าง
ใหญ่ๆ ของกฎหมายหรือนโยบายที่เป็นต้นตอของประเด็นปัญหา เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ยกเว้น EIA และ
EHIA อย่างรวดเร็วและทันต่อการด าเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 4
1. เรื่องที่ได้รับการร้องเรียนโดยภาคธุรกิจ คือ เรื่องเหมืองแร่ เรื่องขุดเจาะปิโตรเลียมบนบก ธุรกิจ
ท่องเที่ยวกระทบชาวเล ธุรกิจน้ าตาลและการเวนคืนที่ดินเพื่อปลูกอ้อย เรื่องการแปรรูปอ้อยมาเป็นแก๊ซโซฮอล์
แปรรูปยางพารา โรงไฟฟ้าต่างๆ โรงบ าบัดน้ าเสีย เขื่อน ธุรกิจข้ามพรมแดน เป็นต้น กสม. จะต้องน าหลักการ
UNGP มาใช้ให้เป็นรูปธรรม แต่ไทยยังไม่มีกฎหมายและนโยบายที่จะรองรับอย่างชัดเจน อาจจะมีการ
สนับสนุนในเชิงบวก เช่น การให้รางวัล การลดหย่อนภาษี แต่ในเชิงลบ มาตรการลงโทษยังไม่มี ทั้งนี้ ได้มีการ
ด าเนินการตรวจสอบข้อร้องเรียนจากกิจกรรมของภาคธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนมาโดยตลอด
2. การส่งเสริมหลักการดังกล่าว กสม. ท าได้ แต่รัฐควรจะท ามากกว่า โดย กสม. ควรจะไปมุ่งเน้นที่
การตรวจสอบติดตาม
3. ในส่วนของการเข้าถึง กสม. ในประเด็นสิทธิชุมชน ใช้กลไกผ่านอนุกรรมการ เพราะเข้าถึงชุมชน
ได้มากกว่า เนื่องจากอนุกรรมการบางท่านฝังตัวอยู่กับชุมชนและมีความเข้าใจในสภาพปัญหาของชุมชนนั้นๆ
เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีค าร้องที่เข้ามาตามระบบ ตลอดจนสื่อมวลชนมีผลต่อการเป็นที่รู้จัก กสม. ของ
ประชาชนได้เป็นอย่างดี
2-33