Page 55 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 55

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ส าคัญว่า ทุกฝ่ายควรจะมองเรื่องการท าธุรกิจที่เคารพสิทธิ

               มนุษยชนอย่างไร ใครมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไร บทบาทคืออะไร ขอบเขตแค่ไหน นับได้ว่าเป็นแนวทาง
               ปฏิบัติสากลส าหรับทุกภาคส่วนของสังคมในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนส าหรับ

               ภาคธุรกิจอย่างแท้จริง แต่สิ่งส าคัญ คือ จ าเป็นจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ UNGP นี้อย่าง

               แท้จริงว่าจะน าไปใช้อย่างไรในทางปฏิบัติ ท าไปแล้วเกิดผลอะไร ได้ประโยชน์อะไร

                      2.   กสม. ในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการรับการร้องเรียน รวมทั้งมีอ านาจในการ

               สอบสวนเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน จึงมีบทบาทส าคัญในการช่วยผลักดันให้
               เกิดการท าธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง ดังนั้น ควรจะรักษาจุดแข็งที่ส าคัญ คือ ความเป็นกลาง

               การพร้อมรับฟังและร่วมงานกับทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้น สามารถเป็นแหล่งความรู้ที่

               ส าคัญในการเผยแพร่หลักการสิทธิมนุษยชนให้สังคมได้รับรู้ รับทราบ โดยร่วมงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

                      3.  ในประเด็นอุปสรรคข้างต้น มีหลักการปฏิบัติพันธกิจสากลที่ต้องปฏิบัติโดยภาคธุรกิจ ได้แก่ สิทธิ

               มนุษยชน สิ่งแวดล้อม แรงงาน การต่อต้านคอรัปชั่น การให้สิทธิคนได้ทัดเทียมกันในการท าธุรกิจเพื่อลดความ
               เหลื่อมล้ า ซึ่งปัจจุบันคนรวยก็รวยเกินไป มีอ านาจ มีการครอบครองธุรกิจได้ทุกอย่าง ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อย

               ก็มีความยากล าบากในการเข้าถึงแหล่งทุน ไม่มีโอกาสในสังคม ดังนั้นจึงต้องให้สิทธิในการศึกษา การพัฒนา

               แรงงาน สิทธิในการท ากินสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะต้อง
               ดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ให้ธุรกิจใหญ่ๆ เอาเปรียบผู้น้อย ในด้านของแรงงานต้องให้การคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสม

               และเป็นธรรม และในส่วนสุดท้ายของการต่อต้านการคอรัปชั่นนั้น ก็จะเป็นประโยชน์เป็นธรรมต่อธุรกิจ และ

               ผลประโยชน์โดยรวมซึ่งภาครัฐและเอกชนได้เล็งเห็นความส าคัญในการแก้ไข

                      4.   แผนปฏิบัติระดับชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจจะสามารถเข้ามาสนับสนุนแผน

               ระดับชาติและประเทศอื่นๆ ได้ การท าธุรกิจทั้งภายในและภายนอกต้องค านึงถึงสิทธิของแรงงาน ผู้มีส่วนได้
               เสีย คู่ค้า การท าธุรกิจที่เป็นธรรม ธุรกิจต้องมีจิตส านึกในการดูแลธุรกิจให้มีคุณค่าที่ยั่งยืน และพันธกิจที่ไทยได้

               ร่วมลงนามไว้ ต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้ กสม. มีอ านาจในการสนับสนุนให้มีการดูแลสิทธิต่างๆ ของมนุษย์

               ด้วยความยุติธรรม

                      5.   ในอนาคต ทิศทางสถานการณ์การเคารพสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจจะดีขึ้นเนื่องจากการแข่งขัน

               สูง ธุรกิจต้องปรับตัวตามกฎระเบียบ พันธกิจ สัญญาโลกซึ่งได้บัญญัติไว้ คู่ค้าก็มีการบังคับใช้อยู่ผ่านสัญญาใน

               ปัจจุบัน

                      6.   กสม. ก็ต้องมีการศึกษาและผลักดันให้ผลการท างานบรรลุเป้าหมายซึ่ง กสม. มีอ านาจในการ

               สนับสนุนเพื่อเป็นที่พึ่งในการให้ความช่วยเหลือ และเป็นสะพานเชื่อมให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจท างาน
               เอื้อกัน








                                                           2-31
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60