Page 56 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 56
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 3
1. หน้าที่ของ กสม. คือ การส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับภาคธุรกิจเพื่อให้เกิดการ
เคารพสิทธิมนุษยชนผ่านการจัดท าคู่มือการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due
Diligence - HRDD) เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชน โดยภาครัฐ
ควรจะมีแผนยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ และเรื่องเหล่านี้ควรจะสะท้อนมาจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
2. กลยุทธ์ที่ท าให้เกิดความรู้ความเข้าใจจะต้องให้ความส าคัญกับรูปแบบของการให้ความรู้ การท า
วิจัย การเผยแพร่และการใช้ประโยชน์ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องเพื่อน าไปสู่การบรรลุ
วัตถุประสงค์นั้นๆ ของ กสม.
3. ในแผนของการคุ้มครองและเยียวยานั้น การปรับปรุงกฎหมายเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มา
จาก กสม. ได้ นอกจากนี้ กสม. ยังท าหน้าที่เป็นกลไกเพื่อตรวจสอบเพื่อดูว่าภาครัฐได้ด าเนินการตามกฎหมาย
หรือไม่
4. ในส่วนของกระบวนการเยียวยานั้นมีการพัฒนาไปเร็วมากและจะกระทบกับสิทธิพื้นฐานของ
บุคคลและชุมชนอย่างมาก เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต สิทธิชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่
ดั้งเดิมก็จะเปลี่ยนแปลงไป สิทธิในสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังคงเป็นเรื่องใหม่ ที่ภาครัฐและเอกชน
จะต้องให้ความส าคัญมากขึ้น ดังนั้น การเยียวยาจึงไม่ใช่แค่การให้ค่าตอบแทน แต่จะต้องค านึงถึงการชดเชย
เยียวยาที่มากกว่าปกติ ทั้งนี้ ปัจจุบันการชดเชย เยียวยายังคงไม่สอดคล้องและกฎหมายจ าเป็นจะต้องปรับปรุง
ให้เหมาะสม การเยียวยาไม่ใช่ CSR และไม่ใช่เป็นงานสงเคราะห์ แต่เป็นการแสดงถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน
ที่มีอยู่ดั้งเดิมและสมบูรณ์ ซึ่งต้องสูญเสียไปเพราะการพัฒนา
5. ส าหรับการเฝ้าระวังปัญหาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่องของภาคธุรกิจนั้น น่าจะเป็นประเด็นห่วงโซ่
อุปทาน เพราะมันจะกระเทือนไปถึงทุกๆ ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน ในกรณีของต่างประเทศนั้น ความเข้มแข็ง
ทางด้านธรรมาภิบาลมีมาก ผู้บริโภคและนักธุรกิจต่างก็ไม่ยอมรับการประกอบธุรกิจที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน
ในกรณีของไทยเอง ก็ควรที่จะสร้างความตระหนักในลักษณะเดียวกัน
6. ในมุมมองของตนแล้ว การด าเนินธุรกิจที่กระทบสิทธิมนุษยชนในทุกๆ ประเด็นมีความส าคัญ
เท่ากันหมด เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน สิ่งแวดล้อม การเยียวยาที่ไม่เหมาะสม การพัฒนาโครงการขนาด
ใหญ่
7. เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น กสม. จะต้องเป็นที่พึ่งพาได้ โดยจะต้องมีช่องทางการเข้าถึง กสม. ให้
หลากหลาย โดยมีขั้นตอนที่ค่อนข้างสะดวก (เช่น การรับโดยไม่มีข้อแม้หรือมีให้น้อยที่สุด) ในปัจจุบัน กสม. ได้
พยายามสร้างช่องทางการเข้าถึงหลากหลายรูปแบบ ทั้งโทรศัพท์ อีเมล จดหมาย การมายื่นเรื่องร้องเรียนด้วย
2-32