Page 217 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 217

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       บทบาทที่เป็นอยู่ในปัจจุบันระหว่าง กสม. กับประชาชนทั่วไป สามารถสรุปได้เป็น 4  บทบาท ซึ่ง

               สามารถที่จะพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นได้ดังนี้


                       บทบาทในการตรวจสอบร้องเรียนและจัดทําฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียนนั้น กสม. ควรที่จะพัฒนาและ
               ยกระดับการถอดบทเรียนและจัดทํากรณีศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริง


                       บทบาทที่สําคัญที่ กสม. ดําเนินการได้ดีอยู่แล้ว ได้แก่ การให้คําปรึกษาผู้ร้องทุกข์ การพัฒนากลไก
               การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชน และการขยายช่องทางการเข้าถึง กสม. ซึ่งทาง กสม. สามารถที่

               จะพัฒนาเพิ่มเติมได้อีกในบางส่วน ประกอบไปด้วย การพัฒนากลไกการช่วยเหลือให้ครบวงจรแก่เหยื่อผู้ถูก

               ละเมิดสิทธิ เช่น การสนับสนุนกลไกการคุ้มครองสิทธิ การให้คําปรึกษากับผู้ร้องทุกข์เพื่อให้เข้าถึงกระบวนการ
               ยุติธรรม กลไกการเยียวยา รวมทั้งการปรับปรุงกลไกการปกป้องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ในส่วนของ

               การขยายช่องทางการติดต่อเพื่อให้เกิดการเข้าถึง กสม. ได้สะดวกมากขึ้นนั้น กสม. ควรที่ต่อยอดการการ

               เข้าถึงการพัฒนาโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้ผู้ร้องสามารถติดต่อเรื่องร้องเรียนหรือขอความ
               ช่วยเหลือกับ กสม. ได้ตลอดเวลา


                       อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า บทบาทที่ กสม. ยังคงทําได้ไม่ดีนัก คือ การสร้างความตระหนักรู้
               แก่กลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด และสาธารณชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น การจําแนกสิทธิให้ชัดเจนว่ามีประเภท

               ใดบ้าง การระบุถึงรูปแบบการละเมิดสิทธิที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นประจําจากการประกอบธุรกิจ การตอบสนอง

               ต่อสิทธิใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นต้น

                       กล่าวโดยสรุป กสม. ยังมีช่องว่างของบทบาทในการดําเนินการกับประชาชนทั่วไปในประเด็นด้านการ

               สร้างความตระหนักรู้ ในขณะที่บทบาทอื่นๆ ของ กสม. ทําได้อย่างเข้มข้นในระดับที่ดี



                      4.4.4  กสม. กับภาคีแนวร่วมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


                       เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพของ กสม. กับภาคีแนวร่วมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่ายังมีประเด็นอีกหลาย

               ประเด็นที่ กสม. สามารถเข้าไปดําเนินการเพื่อหนุนเสริมให้กลุ่มดังกล่าวสามารถสร้างความตระหนักรู้ ให้
               ข้อมูลและความช่วยเหลือทางเทคนิคที่เป็นประโยชน์ให้กับกลุ่มอื่นๆ อันเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิ

               มนุษยชนอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนได้ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดําเนินเปรียบเทียบบทบาทที่
               ผ่านมา และบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. ดังตารางปรากฏข้างล่างนี้














                                                           4-70
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222