Page 214 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 214

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               4.   การสร้างเครือข่ายกับภาคธุรกิจ                รายงานประจําปี รวมทั้งการส่งเสริมให้บริษัท
                                                                 จัดตั้งกลไกในการขับเคลื่อนภายในองค์กรเพื่อ

                                                                 ดําเนินงานตามนโยบายของบริษัท เช่น การจัดตั้ง

                                                                 คณะกรรมการสนับสนุนมาตรฐานแรงงาน ทั้งนี้
                                                                 การประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐานจะสะท้อน KPI

                                                                 ของบริษัท และภาพลักษณ์ของประเทศ

                                                              4.  การจัดทําฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย

                                                                 ภาคเอกชน เพื่อนําไปสู่การถอดบทเรียนว่า

                                                                 ประเด็นร่วม (common issue) ของธุรกิจแต่ละ
                                                                 สาขา และจัดทําข้อเสนอแนะกับภาคเอกชนถึง

                                                                 แนวทางการปฏิบัติที่ดี

                                                              5.  การเฝ้าระวังปัญหาเฉพาะเรื่อง (เช่น เกษตร

                                                                 พันธสัญญา การค้ามนุษย์ แย่งชิงฐานทรัพยากร

                                                                 การทําลายสิ่งแวดล้อม การลงทุนของธุรกิจไทยใน
                                                                 ต่างประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน)


                                                              6.  การผลักดันกลไกการไกล่เกลี่ยนอกศาลใน
                                                                 กระบวนการแก้ไขข้อพิพาท


                                                              7.  การร่วมมือกับองค์กร หรือสถาบันตรวจสอบที่
                                                                 ได้รับการยอมรับในสังคมเพื่อสนับสนุนกลไก

                                                                 เกี่ยวกับปัญหาการประกอบธุรกิจและสิทธิ

                                                                 มนุษยชน รวมถึงการให้แรงจูงใจที่เหมาะสม




                       ในส่วนของการดําเนินการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันระหว่าง กสม. กับภาคเอกชนนั้น คณะผู้วิจัยพบว่า
               กสม. มีบทบาทที่สําคัญทั้งสิ้น 4 บทบาท ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นได้ดังนี้


                       บทบาทแรก คือ การจัดทําองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแปลหลักการ UNGP  และเผยแพร่ให้กับ
               เครือข่าย รวมทั้งการส่งเสริมให้ความรู้กับภาคธุรกิจ ซึ่งทาง กสม. ได้มีการผลักดันโครงการนําร่องเพื่ออบรม

               หลักการ UNGP  ให้กับภาคท่องเที่ยวและการโรงแรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในลําดับถัดไป กสม. ควรที่จะ

               สนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ โดยอาจจะอาศัยการพัฒนากลไก
               เสริมต่อยอดจากความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ซึ่งทางภาคธุรกิจมี






                                                           4-67
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219