Page 222 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 222

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       ในมิติของการพัฒนาบุคลากรเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานนั้น แม้ว่า กสม. จะได้มีการอบรมเจ้าหน้าที่

               ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ แต่การอบรมดังกล่าวอาจจะยังคงไม่

               เพียงพอต่อการสนับสนุนการดําเนินการ ดังนั้น กสม. จึงควรจะต้องเพิ่มกลุ่มงานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
               โดยมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจซึ่งมาจาก

               หลากหลายสาขา เนื่องจากประเด็นสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับมิติที่หลากหลาย  ทั้งนี้ การจัดทําคู่มือด้านสิทธิ

               มนุษยชนและการประกอบธุรกิจจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
               และส่งผลดีต่อการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันที่ กสม. จะเข้าไปสนับสนุนได้  การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร

               จัดการบุคลากรขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ กสม. จําเป็นจะต้องหาแนวทางที่

               เหมาะสมเพื่อตอบสนองการทํางานตามภารกิจของ กสม. การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงมีความ
               ล่าช้า และไม่สามารถเยียวยาผู้เสียหายได้อย่างทันท่วงที ดังนี้ การจัดสรรบุคลากรของ กสม. ให้เพียงพอต่อ

               การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเด็นจะช่วยลดภาระงานที่มากเกินไปสําหรับเจ้าหน้าที่บาง

               รายได้ และในประเด็นสุดท้าย คือ กสม. ควรจะส่งเสริมให้มีคลังข้อมูลที่รวบรวมหลักปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยมีทั้ง
               ข้อมูลเชิงนโยบาย กฎระเบียบ กฎหมายของประเด็นที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาของบริษัทต่างๆ การดําเนินการ

               ตามนโยบาย การสื่อสารกับสาธารณะ การบริหารความสัมพันธ์ภายในห่วงโซ่อุปทานการผลิต การจําแนกและ

               ประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน  การจัดทํา auditing  system  และการออกรายงานประจําปี
               นอกจากนี้ กสม. ควรที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนจัดทํา KPI  เพื่อใช้ในการประเมินผลตนเองว่าได้มีการเคารพ

               และ/หรือ ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

                       ในมิติสุดท้าย คือ กลไกการตรวจสอบ วัดผล ประเมินผลภายในองค์กร คณะผู้วิจัยพบว่า กสม. ได้มี

               การดําเนินการจัดทําและเผยแพร่รายงานประจําปี และติดตามผลการดําเนินงานในแผนพัฒนาองค์กรว่า

               ดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ สามารถประสานงานกับผู้ร้องเรียนถึงสถานะการดําเนินการตรวจสอบ
               ได้อย่างเหมาะสม การดําเนินการดังกล่าวสามารถจัดทําให้ครอบคลุมถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนและการ

               ประกอบธุรกิจ อีกทั้งยังเสริมความเข้มแข็งในกลไกการตรวจสอบได้ด้วยการพัฒนากลไกการบริหารที่ต้องมี

               การติดตาม การประสานงานกับผู้ร้องเรียนถึงสถานะการดําเนินการการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนอย่าง
               เหมาะสม และการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ฯ ทั้งจากภายในและภายนอกเพื่อที่จะเป็นประโยชน์

               ในการขับเคลื่อนแผนที่เป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ ในส่วนของการจัดทํารายงานประจําปี คณะผู้วิจัยเห็นว่า

               กสม. ควรที่จะสรุปการดําเนินงานในประเด็นของธุรกิจและสิทธิมนุษยชนให้มีความชัดเจนเพื่อจะได้ขยายผลใน
               การจัดทําฐานข้อมูลหรือสรุปบทเรียนที่เกี่ยวข้องต่อไป


                       กล่าวโดยสรุป คณะผู้วิจัยได้ประเมินช่องว่างในส่วนของการพัฒนาองค์กรภายใน กสม. และพบว่า

               กสม. ได้มีการดําเนินการที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม แต่ยังคงมีช่องว่างที่จะพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพให้มาก
               ขึ้นได้







                                                           4-75
   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227