Page 219 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 219

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ก็ดี กสม. สามารถปรับปรุงบทบาทของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการปลูกฝังให้ความรู้กับผู้นําชุมชน

               ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และการร่วมเสริมสร้างศักยภาพกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ

               ให้กับภาคีเครือข่าย  เช่น กรณีโรงงานอุตสาหรรมขนาดใหญ่มักจะประสบปัญหาในเรื่องของการอนุมัติหรือ
               อนุญาตซึ่งจะต้องผ่านหน่วยงานราชการในระดับท้องถิ่นและจังหวัด และบางครั้งชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมใน

               กระบวนการด้วยจึงนําไปสู่การร้องเรียนหรือการตรวจสอบ ซึ่ง กสม. ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการรับรู้

               และสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

                       การประสานความร่วมมือระหว่าง กสม. และสื่อนั้น พบว่า กสม. ยังไม่ได้มีบทบาทโดยตรงกับสื่อมาก

               เท่าใดนัก ดังนั้น กสม. จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเครื่องมือในการสื่อสารความรู้และร่วมมือกับสื่อในการให้

               ความรู้ทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง สนับสนุนบทบาทของสื่อในการตรวจสอบเชิงลึกต่อไป

                       ในส่วนของภาควิชาการ กสม. มีบทบาทอย่างมากในการประสานความร่วมมือทั้งการว่าจ้างที่ปรึกษา

               เพื่อจัดทําองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการสนับสนุนส่งเสริมให้ความรู้ (เช่น การจัดทําคู่มือ HRDD มาตรฐานสิทธิ
               มนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตลอดจนประสบการณ์ และบทบาทของ กสม. ใน

               ต่างประเทศ) ตลอดจนการสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย  การดําเนินการดังกล่าวจะทําให้ กสม. ทํางาน

               ร่วมกับภาควิชาการได้ดียิ่งขึ้น หาก กสม. ได้ดําเนินการสนับสนุนในด้านฐานข้อมูลเพื่อนําไปสู่การทําวิจัยและ
               พัฒนาให้กับภาควิชาการในระดับที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เช่น การแปลคู่มือมาตรฐานต่างๆ การวิเคราะห์วิจัยเชิง

               ลึกกรณีผลกระทบจากพหุสังคมและเกิดการปะทะกันระหว่างสิทธิทางวัฒนธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ

                       ประการสุดท้ายคือ การทํางานร่วมกันกับภาคีต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา กสม. ได้สนับสนุนภาพรวม

               กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ การสร้างความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก German

               Institute for Human Rights ธนาคารพัฒนาเอเชีย AICHR และ UNDP เพื่อนําไปสู่การสร้างความตระหนักรู้
               กับสังคมในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยเห็นว่า กสม. สามารถที่จะร่วม

               แลกเปลี่ยนความรู้ มาตรฐานสากล บทเรียนที่ประสบความสําเร็จและล้มเหลว แนวทางการปฏิบัติที่ดี เช่น

               การใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในการสนับสนุนการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิต รวมไปถึงการทําวิจัย
               และพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคีต่างประเทศเพื่อให้การทํางานระหว่างกันมีความสอดคล้องและได้

               มาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

                       กล่าวโดยสรุป กสม. ยังมีช่องว่างของบทบาทในการดําเนินการกับสื่อ เพราะไม่ปรากฏชัดเจนว่า กสม.

               ได้ดําเนินการอะไรร่วมกับสื่อบ้าง สําหรับภาควิชาการและเครือข่ายต่างประเทศ คณะผู้วิจัยพบว่า แม้ว่า กสม.

               จะได้ดําเนินการไปบ้าง แต่ก็ยังคงมีช่องว่างในการพัฒนาอยู่  และกรณีสุดท้าย คือ ความร่วมมือกันระหว่าง
               กสม. กับเครือข่ายอื่นๆ นั้น ถือว่าประสานความร่วมมือกันได้เป็นอย่างดี









                                                           4-72
   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224