Page 216 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 216

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               รวมถึงการให้แรงจูงใจที่เหมาะสม เช่น การสร้างเครือข่ายในการให้รางวัลต่างๆ เช่น รางวัลสําหรับธุรกิจที่ให้

               คํามั่นว่าจะปฏิบัติตามหลักการสากล รางวัลสําหรับธุรกิจที่เปิดเผยข้อมูลดีเด่น หรือรางวัลสําหรับธุรกิจที่ให้

               ความร่วมมือกับการแก้ไขปัญหาดีเด่น โดยอาจจะผูกกับองค์กรหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากสังคม
               นอกจากนี้ กสม. สามารถสนับสนุนการทํางานของหน่วยงานกํากับดูแล (regulators)  และเสริมหนุนการ

               ทํางานของหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ นอกจากเครือข่ายดังกล่าวจะนําไปสู่การป้องกันการ

               ละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังสามารถช่วยลดทอนปัญหาการแทรกแซงปัญหาระบบอุปถัมภ์ในประเทศได้

                       กล่าวโดยสรุป คณะผู้วิจัยได้ประเมินช่องว่างในส่วนของการทํางานกับภาคธุรกิจ และพบว่า กสม. ได้

               มีการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจอย่างครอบคลุม แต่ยังคงมีช่องว่างในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ

               มากขึ้น

                      4.4.3  กสม. กับประชาชนทั่วไป

                       เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพของ กสม. กับสังคม พบว่ายังมีประเด็นอีกหลายประเด็นที่ กสม. สามารถเข้า

               ไปดําเนินการเพื่อหนุนเสริมให้สังคมสามารถตระหนักรู้ เข้าถึงและได้รับการเยียวยาปัญหาการละเมิดสิทธิ

               มนุษยชนอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนได้ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดําเนินเปรียบเทียบบทบาทที่
               ผ่านมา และบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. ดังตารางปรากฏข้างล่างนี้





                               บทบาทที่เป็นอยู่                            บทบาทที่ควรจะเป็น

               1.  การตรวจสอบร้องเรียนและจัดทําฐานข้อมูลเรื่อง 1.  การสร้างความตระหนักรู้แก่กลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูก

                   ร้องเรียน                                     ละเมิด และสาธารณชนทั่วไป


               2.  การให้คําปรึกษาผู้ร้องทุกข์                2.  การถอดบทเรียนและจัดทํากรณีศึกษาเพื่อเปิด

               3.  การพัฒนากลไกการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทด้าน    โอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริง

                   สิทธิมนุษยชน                               3.  การสนับสนุนกลไกการคุ้มครองสิทธิ (เช่น การให้

               4.  การขยายช่องทางการเข้าถึง กสม.                 คําปรึกษากับผู้ร้องทุกข์เพื่อให้เข้าถึงกระบวนการ
                                                                 ยุติธรรม กลไกการเยียวยา รวมทั้งการปรับปรุง

                                                                 กลไกการปกป้องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน)

                                                              4.  การผลักดันกลไกการไกล่เกลี่ยนอกศาลใน

                                                                 กระบวนการแก้ไขข้อพิพาท

                                                              5.  การขยายช่องทางการติดต่อเพื่อให้เกิดการเข้าถึง

                                                                 กสม. ได้สะดวกมากขึ้น





                                                           4-69
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221